ยกฟ้องจำเลยทั้ง 6 ราย จากการเกี่ยวข้องในการเดินขบวนอย่างสันติ

25/09/2019
Appel urgent
en th

ข้อมูลใหม่
THA 002 / 0118 / OBS 015.2
การยกฟ้อง
การฟ้องปิดปาก/
การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสันติ
ประเทศไทย
๒๐ กันยายน ๒๕๖๒

กลุ่มสังเกตการณ์เพื่อการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (The Observatory for the Protection of Human Rights Defenders) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง สมาพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล (FIDH) และ องค์กรต่อต้านการทารุณกรรมโลก (OMCT) ได้รับข้อมูลใหม่และขอเรียกร้องการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนจากท่าน อันเนื่องด้วยสถานการณ์ในประเทศไทยที่จะกล่าวถัดไปนี้

ข้อมูลใหม่ :

กลุ่มสังเกตการณ์ (The Observatory ) ได้รับแจ้งจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับการยกฟ้องในคดีการเดินขบวนอย่างสันติ ของ นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ นางสาวณัฏฐา มหัทธนา นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว นายกาณฑ์ พงษ์ประภาพันธ์ นายสุกฤษฏิ์ เพียรสุวรรณ และทนายความสิทธิมนุษยชน นายอานนท์ นำภา ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ทั้ง ๖ รายได้ถูกตั้งข้อหาและดำเนินคดีภายใต้มาตรา ๑๑๖ ของประมวลกฎหมายอาญา (‘ยุยงปลุกปั่น’) ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุด ๗ ปี รายบุคคล (อ่านข้อมูลเบื้องต้น)

จากข้อมูลที่ได้รับแจ้ง ในวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๒ เวลาประมาณ ๑๐.๐๐ นาฬิกา ศาลอาญา (กรุงเทพมหานคร) ได้วินิจฉัยให้จำเลยทั้ง ๖ คน ไม่ได้กระทำความผิดในข้อหายุยงปลุกปั่น ศาลพบว่า การเดินขบวนได้เป็นไปอย่างสันติ ไม่ได้ก่อความวุ่นวาย ไม่มีการใช้อาวุธ และได้มีการแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจก่อนเดินขบวนแล้ว

ในส่วนของการปรากฏตัวต่อศาลของจำเลยคนที่ ๗ หรือ นายรังสิมันต์ โรม ได้ถูกเลื่อนไปจนถึงกลางปี ๒๕๖๓ เนื่องด้วยการพิจารณาจากตารางงานกับทางรัฐสภา ซึ่งนายรังสิมันต์ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากการเลือกตั้งในวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๒

จำเลยทั้ง ๗ คน เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผู้ชุมนุมจำนวน ๕๐ ราย ซึ่งได้ถูกตั้งข้อหา การฝ่าฝืนมาตรา ๑๒ ของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คำสั่ง ๓/๒๕๕๘ เนื่องด้วยการห้ามชุมนุมทางการเมืองมากกว่า ๔ คนขึ้นไป ทั้งนี้ ข้อหาทั้งหมดที่ได้มีการกล่าวหาด้วยฐานความผิดดังกล่าวได้ถูกยกเลิกภายหลังการประกาศยกเลิกคำสั่งคสช.ที่ ๓/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา

กลุ่มผู้สังเกตการณ์ (The Observatory) ยินดีกับการยกฟ้องในคดีความของ นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ นางสาวณัฏฐา มหัทธนา นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว นายกาณฑ์ พงษ์ประภาพันธ์ นายสุกฤษฏิ์ เพียรสุวรรณ และ นายอานนท์ นำภา ถึงอย่างไรก็ตาม ได้เรียกร้องว่า การตั้งข้อหาต่อบุคคลทั้ง ๖ ไม่ควรเกิดขึ้นตั้งแต่แรก

ข้อมูลเบื้องต้น :

ในวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ นางสาวณัฏฐา มหัทธนา นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว นายกาณฑ์ พงษ์ประภาพันธ์ นายสุกฤษฏิ์ เพียรสุวรรณ และ นายอานนท์ นำภา ได้เข้าร่วมการเดินขบวนอย่างสันติ ในบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กรุงเทพมหานคร เพื่อเรียกร้องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จัดการเลือกตั้งขึ้นก่อนปลายปี ๒๕๖๑

ในวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ แจ้งความเอาผิดผู้เข้าร่วมเดินขบวนจำนวน ๕๐ คน รวมถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้ง ๖ คนที่ได้กล่าวถึงข้างต้น พ.อ.บุรินทร์ ได้กระทำในนามคสช. ซึ่งได้พ้นสภาพไปแล้วในปัจจุบัน

ข้อเรียกร้อง :
โปรดเขียนส่งเจ้าหน้าที่ไทย โดยเรียกร้องให้ :
๑. หยุดการข่มขู่ รวมถึงในขั้นตอนของชั้นศาล ต่อนายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ นางสาวณัฏฐา มหัทธนา นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว นายกาณฑ์ พงษ์ประภาพันธ์ นายสุกิจ เพียรสุวรรณ นายอานนท์ นำภา และ นายรังสิมันต์ โรม อีกทั้ง ต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยทั้งหมด
๒. ให้รับรองว่า นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยจะสามารถดำเนินกิจกรรมถูกต้องตามกฏหมายได้ในทุกสถานการณ์ โดยไม่มีการกีดขวาง หรือ ก่อให้เกิดความเกรงกลัวต่อการตอบโต้ด้วยกำลัง
๓. ให้รับประกันว่า ในทุกสถานการณ์ จะยึดถือสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสันติ ดังที่ปรากฏใน มาตรา ๒๐ ของ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และมาตรา ๒๑ ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
๔. ปฏิบัติตามเงื่อนไขทั้งหมด ภายใต้ ปฏิญญาว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นมติโดย ที่ประชุมใหญ่แห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ๒๕๔๑ โดยเฉพาะในมาตราที่ ๑ และ ๑๒
๕. ให้รับรองว่า ในทุกสถานการณ์ จะเคารพสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และ ตราสารระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศเข้าร่วม

ส่งถึง :

• พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย แฟกซ์ +๖๖ (๐) ๒ ๒๘๒ ๕๑๓๑
• นาย ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แฟกซ์ +๖๖ (๐) ๒ ๖๔๓ ๕๓๒๐ อีเมล minister@mfa.go.th
• นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แฟกซ์ +๖๖ (๐) ๒ ๙๕๓ ๐๕๐๓
• พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการ ตำรวจแห่งชาติ แฟกซ์ +๖๖ (๐) ๒ ๒๕๑ ๕๙๕๖ หรือ +๖๖ (๐) ๒ ๒๕๑ ๘๗๐๒
• นายวัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อีเมล help@nhrc.or.th
• ฯพณฯ นายธานี ทองภักดี เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แฟกซ์ +๔๑ ๒๒ ๗๑๕ ๑๐ ๐๐ / ๑๐ ๐๒ อีเมล mission.thailand@ties.itu.int
• สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม แฟกซ์ +๓๒ ๒ ๖๔๘ ๓๐ ๖๖ อีเมล thaibxl@pophost.eunet.be

โปรดเขียนส่งถึงผู้แทนทางการทูตของประเทศไทย ประจำประเทศของท่านด้วยเช่นกัน

***

นครปารีส-เจนีวา วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๒

กรุณาแจ้งให้ทราบ ในกรณีที่ได้นำคำร้องนี้ไปดำเนินการใดๆต่อ

กลุ่มสังเกตการณ์เพื่อการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (The Observatory for the Protection of Human Rights Defenders) ถูกก่อตั้งในปี ๒๕๔๐ โดย สมาพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล (FIDH) และ องค์กรต่อต้านการทารุณกรรมโลก (OMCT) โครงการมีเป้าหมายเพื่อการป้องกัน หรือ แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน อีกทั้ง FIDH และ OMCT เป็นสมาชิกของ ProtectDefenders.eu ซึ่งเป็นกลไกนักปกป้องสิทธิมนุษยชนของสหภาพยุโรป และดำเนินการโดยภาคประชาสังคมระหว่างประเทศ

ติดต่อกลุ่มสังเกตการณ์ (The Observatory) โทรสายด่วน :
อีเมล : Appeals@fidh-omct.org
โทร หรือ แฟกซ์ สมาพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล (FIDH) +๓๓ (๐) ๑ ๔๓ ๕๕ ๒๕ ๑๘ หรือ +๓๓ ๑ ๔๓ ๕๕ ๑๘ ๘๐
โทร หรือ แฟกซ์ องค์กรต่อต้านการทารุณกรรมโลก (OMCT) +๔๑ (๐) ๒๒ ๘๐๙ ๔๙ ๓๙ หรือ +๔๑ ๒๒ ๘๐๙ ๔๙ ๒๙

Lire la suite