เนื่องในวันครบรอบรัฐประหาร FIDH และองค์กรสมาชิกในประเทศไทย ขอเรียกร้องให้มีการคืนประชาธิปไตย และยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชน

22/05/2018
Communiqué
en th

(กรุงเทพฯ, ปารีส) FIDH และองค์กรสมาชิก ได้แก่ สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และ iLaw ได้ร่วมแถลงการณ์ แถลงการณ์ดังกล่าวได้ถูกจัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 4 ปีการทำการรัฐประหารในประเทศไทย โดยเรียกร้องให้กองทัพต้องนำประชาธิปไตยกลับคืนมาใช้ทันที และยุติการระเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งหมดที่กำลังเกิดขึ้นและถูกปฏิบัติการอย่างเป็นระบบ

“รัฐบาลทหารได้ล้มเหลวในการรักษาสัญญาที่ว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้ง การเลือกตั้งถูกเลื่อนออกไปจากกำหนดการเดิม รวมถึงมีการจำกัดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานมากมาย ต่างๆเหล่านั้นล้วนเป็นที่น่าวิตกกังวลอย่างยิ่ง ว่ากองทัพมีความต้องการที่จะยึดอำนาจไว้ต่อไป ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่กองทัพจะต้องถอยกลับค่าย และคืนอำนาจให้กับประชาชนไทย”

เด็บบี สตอตธาร์ด, เลขาธิการทั่วไป สหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล

ในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยได้ตกต่ำลงอย่างมากภายใต้รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กองทัพได้มีการบังคับใช้กฎหมายและคำสั้งที่เข้มงวด เพื่อปราบปราม และปิดกั้นเสรีภาพของประชาชนให้ลดน้อยถอยลงเรื่อยมา ทั้งนี้รวมถึงเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ และสรีภาพในการรวมกลุ่ม กฎหมายและคำสั่งหลายฉบับที่ประกาศใช้ล้วนขัดกับหลักสนธิสัญญาสากลด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆที่ประเทศไทยได้ร่วมลงนาม

พลเรือนหลายร้อยคน ซึ่งในที่นี้รวมถึง นักการเมือง นักกิจกรรม นักพิทักษสิทธิมนุษยชน นักศึกษา นักวิชาการ และสื่อมวลชน ล้วนได้ถูกควบคุมตัวโดยภารการ โดยในหลายกรณีการควบคุมตัวเกิดขึ้นโดยไม่มีการบอกกล่าวในค่ายทหารหลายวัน แม้ว่ารัฐบาลทหารได้เรียกการจับกุมโดยภารการเหล่านี้ว่า ว่า การปรับทัศนคติ หรือ การเชิญให้ไปพบ

มีการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกอย่างรุนแรงเห็นได้จากการเพิ่มจำนวนของคดีความผิดทางอาญา มาตรา 112 (การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) ขึ้นอย่างมาก นับตั้งแต่การรัฐประหารในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 รัฐได้ทำการจับกุมประชาชนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 127 คน ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดย 55 คน จากจำนวนที่กล่าวมาต้องถูกจำคุกไม่ต่ำกว่า 35 ปี ในหลายกรณีโทษจำคุกถูกพิพากษาโดยศาลทหารซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากล

แม้ว่ารัฐบาลได้มีการออกมาแถลงต่อสาธารณะว่ามีความตั้งใจที่จะรักษาความปลอดภัยให้กับนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชน แต่คสช.ก็ยังคงกำกับให้เกิดการจับกุมโดยภารการ และการคุกคามนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง

รัฐบาลทหารยังมีการสนับสนุนการร่างและการรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ถูกออกแบบมาให้พิทักษ์อำนาจของกองทัพ และจำกัดให้สถาบันทางประชาธิปไตยต่างๆอ่อนแอลง รัฐธรรมนูญดังกล่าวนั้นได้ถูกประกาศใช้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา ภายหลังจากการทำประชามติที่มีการจัดขึ้นอย่างผิดหลักมาตราฐานสากล โดยผู้ใดก็ตามที่ลุกขึ้นมาต่อต้านจะถูกปราบปรามโดยข้อกฎหมายที่รุนแรง และ มีการจับกุมนักรณรงค์ที่ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวจำนวนมาก

“การรัฐประหารที่อ้างว่าเป็นการปฏิรูปประเทศนั้น แต่มีพียงสิ่งเดียวที่รัฐบาลทหารสามารถทำสำเร็จคือการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่การเป็นรัฐอำนาจนิยมที่ซึ่งหลักการนิติรัฐได้ถูกทำลายลง กลไกการประชาธิปไตยได้ถูกแทนที่ด้วยอำนาจของระบบราชการ และเจ้าหน้าที่ทหารได้กลายเป็นส่วนประกอบของคณะกรรมการของรัฐในทุกระดับ”

จอน อึ๊งภากรณ์, ผู้อำนวยการ iLaw

จาก 4 ปี ที่ผ่านมากลไกมากมายในการการจับตาดูสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทยขององค์การสหประชาชาติ และประเทศสมาชิก ได้แสดงออกถึงความกังวลต่อการคุกคามสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองจำนวนมหาศาล เช่นเดียวกับสิทธิทางเศรฐกิจสังคม และวัฒนธรรมในประเทศไทย อย่างไรก็ตามคสช.ล้มเหลวตลอดมาในการใส่ใจต่อข้อกังวลเหล่านี้ รวมถึงล้มเหลวในการนำข้อเสนอแนะไปปฏิบัติใช้เพื่อรักษาหลักการสิทธิมนุษยชน

“แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ไม่เปราะบางทางการเมือง เช่น การยกเลิกโทษประหาร และ การปรับปรุงสภาพเรือนจำ เหล่านี้ล้วนไม่มีความคืบหน้าใดๆภายใต้รัฐบาลทหาร หลังจากสี่ปีที่ผ่านมาของการนำประเทศโดยกองทัพ โทษประหารยังคงมีอยู่ จำนวนของผู้ต้องขังในเรือจำก็เพิ่มสูงขึ้นตลอดเวลา และสิทธิของผู้ต้องขังก็ยังคงโดนคุกคามอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง”

แดนทอง บรีน, ที่ปรึกษาอาวุธโส สสส.
ติดต่อ
สหพันธสิทธิมนุษยชนสากล นางสาวมารีนา เชแบท (ภาษา ฝรั่งเศส,อังกฤษ) โทร +33 6480 59157 ( กรุงปารีส )
Lire la suite