กัมพูชา : รายงานการบังคับบุคคลให้สูญหายที่ส่งไปยังหน่วยงานสหประชาชาติ

10/01/2024
La FIDH à l'ONU
en th
© FIDH

วันนี้ สหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (FIDH) ได้ยื่นรายงานต่อคณะกรรมการของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance (CED) เกี่ยวกับสถานการณ์การบังคับบุคคลให้สูญหายในประเทศกัมพูชา

รายงานดังกล่าวซึ่งจัดทำร่วมกับศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR) และมูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF) ประณามความล้มเหลวของรัฐบาลกัมพูชาในการปฏิบัติตามพันธกรณีของประเทศภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการสูญหายโดยถูกบังคับ (ICPPED) ) ซึ่งกัมพูชาเป็นรัฐภาคี

ความล้มเหลวดังกล่าวแสดงให้เห็นได้จากสองกรณีของการบังคับให้สูญหายอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งได้บันทึกไว้โดย CED ในปี 2014 และ 2018 ตามลำดับ จนถึงขณะนี้ ทั้งสองคดียังคงไม่ได้รับการแก้ไข และรัฐบาลกัมพูชาล้มเหลวในการระบุชะตากรรมและที่อยู่ของเหยื่อทั้งสองราย ตลอดจนการสอบสวนการบังคับบุคคลให้สูญหายอย่างเพียงพอ และการระบุตัวผู้กระทำผิด

คดีแรกคือคดีของนายเขม โสภา เด็กชายอายุ 16 ปี ซึ่งหายตัวไประหว่างการปราบปรามอย่างรุนแรงโดยกองกำลังความมั่นคงของกัมพูชาต่อคนงานในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2557 ในกรุงพนมเปญ

คดีที่ 2 เป็นเรื่องเกี่ยวกับนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ นักเคลื่อนไหวชาวไทยที่ถูกพบเห็นครั้งสุดท้ายในช่วงบ่ายของวันที่ 4 มิถุนายน 2563 ที่กรุงพนมเปญ เขาเป็นนักวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาต่อรัฐบาลทหารที่ปกครองประเทศไทยระหว่างปี 2557 ถึง 2562 และหนีออกจากประเทศไทยหลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

คณะกรรมการของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance (CED) จะทบทวนสถานการณ์การบังคับบุคคลให้สูญหายในประเทศกัมพูชาในช่วงการประชุมสมัยที่ 26 ในวันที่ 19 และ 20 กุมภาพันธ์ 2567 ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

อ่านรายงานด้านล่าง

Lire la suite