ประเทศไทย : คำพิพากษาครั้งล่าสุด และการถูกคุมขังโดยพลการอย่างต่อเนื่องของอานนท์ นำภา

19/01/2024
Appel urgent
en th
Prachatai

กลุ่มสังเกตการณ์เพื่อคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (The Observatory for the Protection of Human Rights Defenders) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสหพันธ์สากลเพื่อสิทธิมนุษยชน (FIDH) และองค์กรต่อต้านการทรมานโลก (OMCT) ได้รับข้อมูลชิ้นใหม่และขอเรียกร้องการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนจากท่าน อันเนื่องด้วยสถานการณ์ในประเทศไทยดังที่จะกล่าวต่อไปนี้

ข้อมูลชิ้นใหม่ :

กลุ่มสังเกตการณ์เพื่อคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนได้รับแจ้งเกี่ยวกับการพิพากษาลงโทษครั้งใหม่, โทษจำคุก, และการถูกคุมขังโดยพลการของนายอานนท์ นำภา นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยคนสำคัญและทนายความด้านสิทธิมนุษยชน

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 ศาลอาญา กรุงเทพ ได้ตัดสินว่า อานนท์ นำภา มีความผิดตามมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทย (“หมิ่นประมาทกษัตริย์”) [1] และมาตรา 14(3) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ [2] และพิพากษาให้จำคุกสี่ปี ข้อกล่าวหาเหล่านี้เกิดจากการโพสต์บน Facebook จำนวน 3 โพสต์ที่เขาเผยแพร่เมื่อวันที่ 1 และ 3 มกราคม 2564 โดยตั้งคำถามเกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา และสนับสนุนสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกที่เกี่ยวข้องกับการวิพากษ์วิจารณ์การปฏิรูปของสถาบันกษัตริย์ไทย [3]

ในขณะที่มีการเผยแพร่คำเรียกร้องเร่งด่วนนี้ นายอานนท์ยังคงถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ซึ่งเขาถูกคุมขังโดยพลการนับตั้งแต่การถูกพิพากษาลงโทษในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ในครั้งก่อนเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566

กลุ่มสังเกตการณ์เพื่อคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนขอย้ำเตือนว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพิพากษาลงโทษในคดีมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญาต่อนายอานนท์ นำภา เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 ศาลอาญาได้พิพากษาลงโทษเขาถึง 4 ปี ใน 1 กระทงของคดี “หมิ่นประมาทกษัตริย์” และสั่งปรับ 20,000 บาทในข้อหาฐานฝ่าฝืนพรกฉุกเฉินฯ โดยคดีนี้เกิดขึ้นจากการปราศรัยของนายอานนท์ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ในการชุมนุมอย่างสงบที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งผู้ชุมนุมได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลปฏิบัติตาม 3 ข้อที่เรียกร้องโดยขบวนการประชาธิปไตยที่ได้เริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 รวมไปถึงข้อเรียกร้องในการปฎิรูปสถาบันกษัตริย์ไทย นายอานนท์ถูกตั้งข้อหา ”หมิ่นประมาทกษัตริย์” จากคำปราศรัยที่กล่าวถึงพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 ในฐานะบุคคลที่มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการสั่งการสลายการชุมนุม แทนที่จะเป็นตำรวจควบคุมฝูงชน เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2566 ศาลอุทธรณ์ปฏิเสธคำร้องขอประกันตัวของนายอานนท์ โดยอ้างถึงโทษจำคุกที่ร้ายแรง และข้อเท็จจริงที่ว่าเขามีความเสี่ยงที่จะหลบหนีหากได้รับการประกันตัว

กลุ่มสังเกตการณ์เพื่อคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนขอย้ำเตือนเพิ่มอีกว่า นายอานนท์ นำภานั้นอยู่ระหว่างการดำเนินคดีทางกฎหมายที่เกี่ยวกับคดี ”หมิ่นประมาทกษัตริย์” อีก 12 คดี ก่อนหน้านี้นายอานนท์ถูกคุมขังโดยพลการถึง 2 ครั้งในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยครั้งแรกถูกคุมขัง 113 วัน จากวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ถึง 1 มิถุนายน 2564 จากข้อกล่าวหาว่า “หมิ่นประมาทกษัตริย์” และ “ยุยงปลุกปั่น” (มาตรา 116 แห่งประมวลกฎหมายอาญาประเทศไทย) โดยเกี่ยวข้องกับการปราศรัยที่พูดถึงข้อกังวลต่อสถาบันกษัตริย์ไทยที่เขาได้กล่าวในการชุมนุมอย่างสงบที่สนามหลวง กรุงเทพฯ ในวันที่ 19 กันยายน 2563 และครั้งที่ 2 เขาถูกคุมขังถึง 202 วัน จากวันที่ 11 สิงหาคม 2564 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 โดยเกี่ยวเนื่องกับคดี “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ในอีก 12 คดี คำร้องขอประกันตัวของเขาถูกยกคำร้องหลายต่อหลายครั้ง

กลุ่มสังเกตการณ์ฯ ตั้งข้อสังเกตด้วยความกังวลว่าระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ประชาชนจำนวน 262 คน รวมถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจำนวนมาก และผู้เยาว์ 20 คน ถูกตั้งข้อหาภายใต้มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยในปัจจุบันมีผู้ถูกควบคุมตัวระหว่างพิจารณาคดี 15 คน และอีก 6 คนกำลังรับโทษจำคุก

กลุ่มสังเกตการณ์ฯ ขอประณามการพิพากษาลงโทษล่าสุด การตัดสินลงโทษ และการควบคุมตัวอานนท์ นำภาโดยพลการจนถึงขณะนี้ และการคุกคามระหว่างพิจารณาคดีต่ออานนท์ ซึ่งดูเหมือนว่าจะมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อลงโทษอานนท์ สำหรับการทำกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนที่ชอบด้วยกฎหมาย และการใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบเท่านั้น

กลุ่มสังเกตการณ์ฯ เรียกร้องให้ทางการไทยปล่อยตัวเขาและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนคนอื่นๆ ที่ถูกควบคุมตัวโดยพลการในประเทศโดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข และยุติการคุกคามระหว่างพิจารณาคดีต่อพวกเขา

โปรดดำเนินการ :

โปรดเขียนจดหมายถึงทางการไทยและขอให้พวกเขา :
รับประกันในทุกสถานการณ์ต่อความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจของอานนท์ นำภา และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยทุกคนในประเทศไทย
ปล่อยตัวอานนท์ นำภา และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยคนอื่นๆ ทันที โดยไม่มีเงื่อนไข เนื่องจากการจับกุมพวกเขาเป็นไปโดยพลการ เพียงเพื่อจะลงโทษพวกเขาสำหรับการกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนที่ชอบด้วยกฎหมายเพียงเท่านั้น
ยุติการพิพากษาลงโทษ และยุติการกระทำที่เป็นการคุกคามทั้งหมด รวมถึงในระดับตุลาการต่ออานนท์ นำภา นักปกป้องสิทธิมนุษยชนและนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยคนอื่นๆ ทั้งหมดในประเทศ และรับประกันในทุกสถานการณ์ว่าพวกเขาสามารถดำเนินกิจกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายโดยไม่มีอุปสรรคและความกลัวต่อการตอบโต้
รับประกันในทุกสถานการณ์ถึงสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาตรา 19 และ 21 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี ;
งดเว้นการใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อโจมตีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย

ที่อยู่ :

• นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี Email : spmwebsite@thaigov.go.th
• นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี Email : minister@mfa.go.th
• พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม Email : complainingcenter@moj.go.th
• พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด Email : webadmin@rta.mi.th
• พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ Email : info@royalthaipolice.go.th
• นางสาวพรประไพ กาญจนรินทร์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ Email : help@nhrc.or.th, info@nhrc.co.th
• คุณสุพัตรา ศรีไมตรีพิทักษ์ เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทย ประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ Email : thaimission.GVA@mfa.mail.go.th
• นายเสข วรรณมธี เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม Email : thaiembassy.brs@mfa.go.th

กรุณาเขียนถึงผู้แทนทางการทูตของประเทศไทยในประเทศของคุณด้วย.

***
ปารีส-เจนีวา, 19 มกราคม 2567

โปรดแจ้งให้เราทราบถึงการดำเนินการใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยอ้างถึงรหัสของคำเรียกร้องนี้ในการตอบกลับของคุณ

กลุ่มสังเกตการณ์เพื่อคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดย FIDH และกลุ่มองค์กรต่อต้านการทารุณกรรมโลก (OMCT) วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือการป้องกันหรือแก้ไขสถานการณ์การปราบปรามนักปกป้องสิทธิมนุษยชน FIDH และ OMCT ต่างเป็นสมาชิกของ ProtectDefenders.eu ซึ่งเป็นกลไกเพื่อคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนของสหภาพยุโรป และดำเนินการโดยภาคประชาสังคมระหว่างประเทศ

หากต้องการติดต่อกลุ่มสังเกตุการณ์ฯ โปรดติดต่อที่ช่องทางฉุกเฉิน :

E-mail : alert@observatoryfordefenders.org
โทร FIDH : +33 (0) 1 43 55 25 18
โทร OMCT : +41 (0) 22 809 49 39

Lire la suite