THAILAND : THAMMAKASET WATCH

20/03/2020
contenu
en th

Thammakaset Watch คือเว็บเพจในการดูแลของ FIDH (ภายใต้ขอบเขตงานของ The Observatory for the Protection of Human Rights Defenders) มีเป้าหมายเพื่อบันทึกการตอบโต้คุกคามด้วยกระบวนการยุติธรรม ที่ธรรมเกษตรซึ่งเป็นบริษัทฟาร์มเลี้ยงไก่ในไทยได้ดำเนินการกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน คนงาน และนักข่าว หน้าเพจนี้จะมีการอัพเดตอย่างสม่ำเสมอเพื่อรายงานความคืบหน้า

[อัพเดทครั้งล่าสุด : 29 สิงหาคม 2566]

บริษัท ธรรมเกษตร จำกัด กับ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนและคนงานในประเทศไทย



นับตั้งแต่ปี 2559 บริษัท ธรรมเกษตร จำกัด ซึ่งประกอบกิจการฟาร์มเลี้ยงไก่ในประเทศไทย ได้ฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่งรวมทั้งสิ้น 39 กรณี ต่อจำเลย 23 รายซึ่งรวมทั้งต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน คนงานและนักข่าวในข้อหาหมิ่นประมาทบริษัท เหตุฟ้องร้องต่างๆ นั้นสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยบันทึกข้อมูล สื่อสารและสร้างความสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมเกี่ยวกับกรณีการละเมิดสิทธิแรงงานที่มีการกล่าวอ้างว่ากระทำโดยธรรมเกษตร นอกเหนือไปจากบรรดาคดีที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ธรรมเกษตรยังได้แจ้งความต่อตำรวจอีกไม่ทราบจำนวนครั้งเพื่อให้มีการดำเนินคดีอาญากับบุคคลอื่นๆ อย่างไรก็ตามจนถึงปัจจุบันยังไม่มีกรณีใดที่มีคำสั่งเห็นควรให้ฟ้องคดีต่อศาล

รายชื่อ 23 จำเลยซึ่งตกเป็นเป้าของธรรมเกษตรในการฟ้องคดีแพ่งและอาญา
คดีต่าง ๆ ที่มีการยื่นฟ้องโดยธรรมเกษตร
กำหนดการพิจารณาคดี
กฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้อง

รายชื่อ 23 จำเลยซึ่งตกเป็นเป้าของธรรมเกษตรในการฟ้องคดีแพ่งและอาญา


1-14. นาน วิน และคนงานข้ามชาติจากเมียนมา 13 คน (โดยเป็นผู้หญิงหกคน) อดีตคนงานของธรรมเกษตร
15. สุธาสินี แก้วเหล็กไหล นักปกป้องสิทธิแรงงาน
16. อานดี้ ฮอลล์ นักปกป้องสิทธิแรงงาน
17. สุธารี วรรณศิริ อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน
18. สุชาณี คลัวเทรอ นักข่าว
19. งามศุกร์ รัตนเสถียร นักวิชาการ
20. อังคณา นีละไพจิตร นักปกป้องสิทธิมนุษยชนและอดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
21. พุทธณี กางกั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน
22. ธนภรณ์ สาลีผล อดีตผู้ช่วยด้านสื่อสาร
23. วอยซ์ทีวี บริษัทธุรกิจสื่อ

คดีต่าง ๆ ที่มีการยื่นฟ้องโดยธรรมเกษตร


1. การดำเนินคดีอาญากับอดีตคนงานทั้ง 14 จากการร้องเรียนกรณีละเมิดสิทธิแรงงานต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2559 ธรรมเกษตรได้ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลแขวงดอนเมืองที่กรุงเทพฯ เพื่อดำเนินคดีกับ คนงานข้ามชาติทั้ง 14 จากเมียนมา ในข้อหาความผิดฐาน "แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน" (มาตรา 137 ประมวลกฎหมายอาญา) และ "หมิ่นประมาท" (มาตรา 326) หลังจากการที่คนงานได้ยื่นร้องเรียนกรณีละเมิดสิทธิแรงงานต่อกสม. [1] ธรรมเกษตรกล่าวหาว่าการร้องเรียนต่อกสม.สร้างความเสียหายกับชื่อเสียงของบริษัท วันที่ 11 กรกฎาคม 2561 ศาลพิพากษายกฟ้องในคดีต่อแรงงานทั้ง 14 ศาลเห็นว่าคนงานได้ร้องเรียนกรณีละเมิดสิทธิแรงงานขณะทำงานในฟาร์มของธรรมเกษตรต่อกสม.โดยสุจริตเพื่อปกป้องสิทธิของตนเอง ถึงแม้หนังสือร้องเรียนไม่ได้ระบุข้อมูลข้อเท็จจริงทั้งหมดไว้อย่างละเอียดและมีส่วนที่ลูกจ้างเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่บ้างแต่ไม่อาจรับฟังได้ว่าเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ธรรมเกษตรได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าว แต่ศาลแขวงดอนเมืองไม่รับฟ้องเพราะเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562 ศาลอุทธรณ์เห็นชอบกับคำสั่งของศาลแขวงดอนเมืองที่ไม่รับอุทธรณ์ของธรรมเกษตร คำสั่งดังกล่าวมีผลให้คดีถึงที่สุด


2. การดำเนินคดีอาญากับอดีตคนงานสองคน รวมทั้งกับผู้ประสานงานเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ จากการนำบัตรบันทึกเวลาทำงานมาใช้เป็นหลักฐานการทำงานเกินชั่วโมงทำงานโดยไม่ได้รับค่าล่วงเวลา

2.1 การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐกับอดีตคนงานทั้งสอง

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2559 นางสาวเย เย และนายซู ยัง คนงานข้ามชาติจากเมียนมา ซึ่งเป็นสองใน 14 คนงานของธรรมเกษตร ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งข้อหาในความผิดฐาน “ร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างในเวลากลางคืน” (มาตรา 334 และ 335(1) และ (11) ประมวลกฎหมายอาญา) จากการขโมยบัตรบันทึกเวลาทำงานซึ่งกล่าวโทษโดยธรรมเกษตร ข้อหาดังกล่าวเกิดจากการที่คนงานนำบัตรบันทึกเวลาทำงานมาแสดงต่อพนักงานตรวจแรงงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเพื่อเป็นหลักฐานกรณีละเมิดสิทธิแรงงาน เป็นเหตุให้ธรรมเกษตรกล่าวหาว่าทั้งสองคนได้ขโมยบัตรบันทึกเวลาทำงานไป อย่างไรก็ดี อัยการจังหวัดลพบุรีได้มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีกับคนงานทั้งสองเพราะเห็นว่าการกระทำดังกล่าวขาดองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายอาญาเนื่องจากเป็นการเอาไปโดยไม่มีเจตนาทุจริต

2.2 การฟ้องคดีอาญาต่ออดีตคนงานและผู้ประสานงานเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560 ธรรมเกษตรได้ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลจังหวัดลพบุรี ในข้อหาความผิดฐาน "ร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืน" (มาตรา 334 และ 335(1) ประมวลกฎหมายอาญา) "รับของโจร" (มาตรา 357) และ "เอาไปเสียซึ่งเอกสารใดของผู้อื่น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น" (มาตรา 188) กับคนงานสองคนคือ นางสาวเย เย และ นายซู ยัง คำฟ้องของธรรมเกษตรยังรวมถึงการกล่าวหา นางสาวสุธาสินี แก้วเหล็กไหล นักปกป้องสิทธิิแรงงานและผู้ประสานงานเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาสังคมด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิประการต่าง ๆ ของแรงงานข้ามชาติ ในฐานะตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวข้างต้น [2] ในขั้นตอนการไต่สวนมูลฟ้องวันที่ 3 กันยายน 2561 ศาลจังหวัดลพบุรีได้มีคำสั่งไม่ประทับรับฟ้องดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสาม ศาลเห็นว่าการนำบัตรบันทึกเวลาทำงานเพื่อแสดงต่อพนักงานตรวจแรงงานจังหวัดลพบุรีไม่ได้มีเจตนาทุจริต อีกทั้งจำเลยก็ไม่ได้แก้ไขข้อความในเอกสาร และบริษัทเองมีหน้าที่ต้องส่งเอกสารดังกล่าวให้พนักงานตรวจแรงงานอยู่แล้ว จึงไม่ได้ทำให้บริษัทเสียชื่อเสียง ธรรมเกษตรได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องดังกล่าว ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 ศาลอุทธรณ์เห็นชอบกับคำสั่งของศาลจังหวัดลพบุรีที่ไม่รับฟ้องเพื่อดำเนินคดีกับบุคคลทั้งสาม

3. การดำเนินคดีอาญากับนักปกป้องสิทธิแรงงานจากการโพสต์แและแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิแรงงาน

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 ธรรมเกษตรได้ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ เพื่อดำเนินคดีกับ นายอานดี้ ฮอลล์ นักปกป้องสิทธิแรงงานสัญชาติอังกฤษ ในข้อหาความผิดฐาน "หมิ่นประมาท" (มาตรา 326 ประมวลกฎหมายอาญา) และ "หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา" (มาตรา 328) รวมทั้งความผิดตามมาตรา 14(1) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ [3] สืบเนื่องจากการใช้สื่อโซเชียลมีเดียเพื่อหยิบยกกรณีการดำเนินคดีอาญากับคนงานข้ามชาติทั้ง 14 คดีที่นายฮอลล์ถูกฟ้องยังคงค้างอยู่ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้





4. การดำเนินคดีอาญากับอดีตคนงานจากการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการทำงานในระหว่างการแถลงข่าวและในหนังสั้น รวมทั้งการโพสท์ข้อมูลดังกล่าวลงในเฟซบุ๊ก

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2561 ธรรมเกษตรได้ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลอาญาที่กรุงเทพฯ ในข้อหาความผิดฐาน “หมิ่นประมาท” (มาตรา 326 ประมวลกฎหมายอาญา) และ “หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา” (มาตรา 328) เพื่อดำเนินคดีกับ นายนาน วิน ซึ่งเป็นหนึ่งในคนงานข้ามชาติ 14 คนจากเมียนมา จากการที่เขาให้สัมภาษณ์กับฟอร์ตี้ฟายไรต์ เอ็นจีโอด้านสิทธิมนุษยชนในระหว่างการแถลงข่าว ซึ่งมีการถ่ายทอดผ่านทางเฟซบุ๊กไลฟ์ [4] และในหนังสั้นเพื่อการรณรงค์ที่จัดทําโดยฟอร์ตี้ฟายไรต์และนําขึ้นไปไว้ที่ยูทูป [5] ธรรมเกษตรกล่าวหาว่าคําพูดของนายนานวินที่มีการกล่าวอ้างถึงการละเมิดสิทธิแรงงานขณะทํางานอยู่ในฟาร์มของธรรมเกษตรได้สร้างความเสียหายแก่ชื่อเสียงของบริษัท การไต่สวนมูลฟ้องได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 และในวันที่ 8 มีนาคม 2562 ศาลอาญาเห็นว่าคดีมีมูล จึงรับฟ้องและดําเนินคดีกับนายนานวิน การพิจารณาคดีนัดแรกเกิดขึ้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2562 โดยศาลพิจารณาให้รวมคดีนี้เข้ากับคดีของนางสาวสุธารี วรรณศิริ [ดูข้อ 5.1] การสืบพยานมีขึ้นตั้งแต่ 18 ถึง 21 กุมภาพันธ์ 2563 และศาลได้เลื่อนนัดอ่านคำพิพากษาจาก 31 มีนาคม เป็นวันที่ 27 เมษายน 2563 และเลื่อนนัดอีกครั้งไปยังวันที่ 8 มิถุนายน 2563 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในวันที่ 8 มิถุนายน 2563 ศาลพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่านานวินไม่ได้กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ศาลเห็นว่าข้อมูลที่นานวินได้ให้สัมภาษณ์กับฟอร์ตี้ฟายไรต์ทั้งสองครั้งนั้นเป็นความจริงและได้ให้ข้อมูลโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม - อันเป็นบทยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 329 (1) ของประมวลกฎหมายอาญา ธรรมเกษตรยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาดังกล่าวเมื่อเดือนตุลาคม 2563 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องคดีหมิ่นประมาททางอาญาต่อนายนานวิน ศาลอุทธรณ์ยืนยันตามคำตัดสินของศาลอาญาว่ามีการละเมิดสิทธิแรงงานในฟาร์มเลี้ยงไก่ของธรรมเกษตร และคำให้การต่อสาธารณะของนายนานวินเกี่ยวกับสภาพการทำงานเป็นการกระทำโดยชอบธรรมเพื่อป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตน - อันเป็นบทยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 329 (1) ของประมวลกฎหมายอาญา


5. การดําเนินคดีอาญาและคดีแพ่งกับอดีตผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนจากการนําหนังสั้นขึ้นไปโพสต์ในทวิตเตอร์

5.1 หมิ่นประมาททางอาญา

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2561 ธรรมเกษตรได้ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลอาญาที่กรุงเทพฯ ในข้อหาความผิดฐาน “หมิ่นประมาท” (มาตรา 326 ประมวลกฎหมายอาญา) และ “หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา” (มาตรา 328) [6] เพื่อดำเนินคดีกับ นางสาวสุธารี วรรณศิริ อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของฟอร์ตี้ฟายไรต์ คำฟ้องดังกล่าวเกี่ยวเนื่องกับข้อความที่สุธารีได้โพสต์ขึ้นทวิตเตอร์จำนวนสามครั้งเกี่ยวกับวีดีโอรณรงค์ที่จัดทำโดยฟอร์ตี้ฟายไรต์ [7] ธรรมเกษตรกล่าวหาว่าการโพสต์ของสุธารีสร้างความเสียหายแก่ชื่อเสียงของบริษัท การไต่สวนมูลฟ้องได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2561 ในวันที่ 25 มีนาคม 2562 ศาลอาญามีคำสั่งรับฟ้องเพื่อดำเนินคดีหมิ่นประมาททางอาญากับสุธารี การพิจารณาคดีนัดแรกเกิดขึ้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2562 โดยศาลพิจารณาให้รวมคดีนี้เข้ากับคดีของนายนานวิน [ดูข้อ 4] ศาลยังได้ออกหมายขังทำให้สุธารีต้องวางหลักทรัพย์เพื่อขอปล่อยตัวชั่วคราวจำนวน 50,000 บาท (1,600 ดอลลาร์สหรัฐฯ) [8] การสืบพยานมีขึ้นตั้งแต่ 18 ถึง 21 กุมภาพันธ์ 2563 และศาลได้เลื่อนนัดอ่านคำพิพากษาจาก 31 มีนาคม เป็นวันที่ 27 เมษายน 2563 และเลื่อนนัดอีกครั้งไปยังวันที่ 8 มิถุนายน 2563 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในวันที่ 8 มิถุนายน 2563 ศาลพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าสุธารีไม่ได้กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ศาลเห็นว่าข้อความที่สุธารีได้โพสต์ขึ้นทวิตเตอร์จำนวนสามครั้งนั้นเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นปกติวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ - ซึ่งเป็นบทยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 329 (3) ของประมวลกฎหมายอาญา ธรรมเกษตรยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาดังกล่าวเมื่อเดือนตุลาคม 2563 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องคดีหมิ่นประมาททางอาญาต่อสุธารี ศาลอุทธรณ์ยืนยันตามคำตัดสินของศาลอาญาว่ามีการละเมิดสิทธิแรงงานในฟาร์มเลี้ยงไก่ของธรรมเกษตร และสุธารีทำการสืบสวนการละเมิดสิทธิแรงงานดังกล่าวไปตามผลการศึกษาที่เชื่อถือได้และเป็นกลางของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย ดังนั้น สุธารีได้แสดงความคิดเห็นโดยสุจริต - อันเป็นบทยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 329 (1) ของประมวลกฎหมายอาญา

5.2 หมิ่นประมาททางแพ่ง

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2561 ธรรมเกษตรได้ยื่นฟ้องคดีหมิ่นประมาททางแพ่งต่อศาลแพ่งที่กรุงเทพฯ เรียกร้องให้ นางสาวสุธารี วรรณศิริ ชดใช้ค่าเสียหายห้าล้านบาท (160,282 ดอลลาร์สหรัฐ) จากการทำให้บริษัทเสียชื่อเสียง [9] คำฟ้องดังกล่าวเกี่ยวเนื่องกับข้อความที่สุธารีได้โพสต์ขึ้นทวิตเตอร์จำนวนสามครั้งเกี่ยวกับวีดีโอรณรงค์ที่จัดทำโดยฟอร์ตี้ฟายไรต์สร้างความเสียหายแก่ชื่อเสียงของบริษัท ธรรมเกษตรยังเรียกร้องให้สุธารีประกาศคําขอโทษลงในหนังสือพิมพ์รายวันและในทวิตเตอร์ติดต่อกันอย่างน้อย 30 วัน และทําลายข้อความที่เผยแพร่ในระบบคอมพิวเตอร์หรืออินเตอร์เน็ต รวมทั้งใช้ค่าธรรมเนียมศาลและค่าทนายความให้แก่บริษัท ศาลแพ่งได้กําหนดนัดชี้สองสถานเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2561 โดยกําหนดนัดสืบพยานระหว่างวันที่ 27 – 30 สิงหาคม 2562 และนัดฟังคําพิพากษาวันที่ 31 ตุลาคม 2562 ในระหว่างขั้นตอนการสืบพยาน ศาลแพ่งได้ใช้ความพยายามที่จะไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างคู่ความ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2562 หลังความพยายามไกล่เกลี่ยมากกว่าครึ่งวัน ธรรมเกษตรตัดสินใจถอนฟ้องคดีผ่านความตกลงกับสุธารี โดยสุธารีตกลงที่จะระบุว่า เธอขอแสดงความเสียใจด้วย หากข้อมูลในคลิปวีดีโอของฟอร์ตี้ฟายไรต์มีส่วนที่ทำให้เข้าใจผิดและเสียหายต่อธรรมเกษตร

6. การดําเนินคดีอาญากับนักข่าวหญิงจากการโพสต์ข้อมูลกรณีละเมิดสิทธิแรงงานในทวิตเตอร์

6.1 การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 ธรรมเกษตรได้แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่จังหวัดลพบุรีให้ดําเนินคดีในข้อหาความผิดฐาน “หมิ่นประมาท” (มาตรา 326 ประมวลกฎหมายอาญา) และ “หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา” (มาตรา 328) รวมทั้งความผิดตามมาตรา 14(1) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กับ นางสุชาณี คลัวเทรอ อดีตผู้สื่อข่าวของวอยซ์ทีวี สืบเนื่องจากการที่สุชาณีโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิแรงงานของธรรมเกษตรลงในทวิตเตอร์เมื่อ 14 กันยายน 2560 [10] สุชาณีได้ไปให้ปากคำกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 และในวันที่ 16 ตุลาคม 2561 อัยการจังหวัดลพบุรีมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี

6.2 การฟ้องคดีอาญา

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562 ธรรมเกษตรได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดลพบุรีในข้อหาความผิดฐาน “หมิ่นประมาท” (มาตรา 326 ประมวลกฎหมายอาญา) และ “หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา” (มาตรา 328) เพื่อดำเนินคดีกับ นางสุชาณี คลัวเทรอ อดีตผู้สื่อข่าวของวอยซ์ทีวี การไต่สวนมูลฟ้องได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2562 ในวันที่ 17 มิถุนายน 2562 ทนายของสุชาณีได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งยกฟ้องเพราะเหตุคดีไม่มีมูลตามมาตรา 165/2 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา [11] คำร้องดังกล่าวแสดงเหตุผลแห่งการฟ้องคดีของธรรมเกษตรโดยปราศจากความชอบธรรมเพราะเป็นการตอบโต้คุกคามด้วยกระบวนการยุติธรรมต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม ศาลปฏิเสธที่จะพิจารณาคำร้องดังกล่าว ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2562 ศาลจังหวัดลพบุรีมีคำสั่งรับฟ้องดำเนินคดีกับสุชาณี การพิจารณาคดีนัดแรกเกิดขึ้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2562 และมีการสืบพยานตั้งแต่วันที่ 5 ถึง 8 พฤศจิกายน 2562 ในวันที่ 24 ธันวาคม 2562 ศาลจังหวัดลพบุรีพิพากษาว่าสุชาณีมีความผิดตามมาตรา 326 และ 328 แห่งประมวลกฎหมายอาญาและลงโทษจำคุกสองปี หลังอ่านคำพิพากษา สุชาณีได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวด้วยหลักทรัพย์ 75,000 บาท (2,404 ดอลลาร์สหรัฐฯ) สุชาณีได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าว ในวันที่ 27 ตุลาคม 2563 ศาลอุทธรณ์ได้กลับคำพิพากษาของศาลจังหวัดลพบุรีและพิพากษายกฟ้อง ศาลเห็นว่าข้อความของสุชาณีนั้นเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นปกติวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ - ซึ่งเป็นบทยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 329 (3) ของประมวลกฎหมายอาญา ในวันที่ 9 สิงหาคม 2565 ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้องสุชาณี

7. การดําเนินคดีอาญากับอดีตคนงานจากการโพสต์และแชร์ข้อมูลอันอาจกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัท

ธรรมเกษตรได้ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ เพื่อดำเนินคดีกับ นายโทน โทน วิน หนึ่งในคนงานข้ามชาติ 14 คนจากเมียนมา ในข้อหาความผิดฐาน “หมิ่นประมาท” (มาตรา 326 ประมวลกฎหมายอาญา) และ “หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา” (มาตรา 328) โดยไม่ได้คาดคิดว่าตนถูกฟ้องคดี จนกระทั่งวันที่ 18 พฤษภาคม 2562 โทนโทนวินได้รับหมายเรียกเพื่อไปให้การต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ที่จะมีขึ้นในวันที่ 4 มิถุนายน 2562 ในฐานะจำเลยโดยศาลได้มีคำสั่งรับฟ้องของธรรมเกษตรแล้วเพราะเห็นว่าคดีมีมูล โทนโทนวินได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวโดยใช้หลักทรัพย์ 50,000 บาท (1,600 ดอลลาร์สหรัฐฯ) อย่างไรก็ตาม โทนโทนวิน ไม่ได้มาปรากฏตัวต่อหน้าศาลในวันพิจารณาคดีนัดแรกเมื่อ 4 มิถุนายน 2562 ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2562 ศาลอาญากรุงเทพใต้จึงมีคำสั่งยึดหลักประกันและพักการพิจารณาคดีชั่วคราว และออกหมายจับโทน โทน วิน

8. การดำเนินคดีอาญากับอดีตคนงานจากการเบิกความต่อศาลแรงงาน

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 ธรรมเกษตรได้ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลจังหวัดสระบุรี เพื่อดำเนินคดีกับ นายนาน วิน หนึ่งในคนงานข้ามชาติ 14 คนจากเมียนมา ในข้อหาความผิดฐาน "เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล" (มาตรา 177 ประมวลกฎหมายอาญา) ในคดีแรงงานระหว่างธรรมเกษตรกับคนงานข้ามชาติทั้ง 14 การไต่สวนมูลฟ้องได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2562 ในวันที่ 6 สิงหาคม 2562 ศาลจังหวัดสระบุรีมีคำสั่งรับฟ้องเพราะเห็นว่าคดีมีมูล การพิจารณาคดีนัดแรกมีขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2562 และมีการสืบพยานในวันที่ 11 มีนาคม 2563 ในวันที่ 24 มีนาคม 2563 ศาลจังหวัดสระบุรีได้พิพากษายกฟ้องคดี โดยศาลเห็นว่าพยานหลักฐานของฝ่ายธรรมเกษตรไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่านานวินกระทำความผิด

9. การดำเนินคดีอาญากับอาจารย์มหาวิทยาลัยจากการโพสต์ข้อมูลเรียกร้องให้ธรรมเกษตรยุติการดำเนินคดีหมิ่นประมาทกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนลงในเฟซบุ๊ก

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 ธรรมเกษตรได้ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลอาญาที่กรุงเทพฯ ในข้อหาความผิดฐาน “หมิ่นประมาท” (มาตรา 326 ประมวลกฎหมายอาญา) และ “หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา” (มาตรา 328) เพื่อดำเนินคดีกับ นางสาวงามศุกร์ รัตนเสถียร นักวิชาการสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เหตุแห่งการฟ้องร้องสืบเนื่องจากเพจเฟซบุ๊กสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาได้แชร์ข่าวของฟอร์ตี้ฟายไรต์เผยแพร่วันที่ 12 มีนาคม 2562 [12] โดยธรรมเกษตรกล่าวอ้างว่างามศุกร์เป็นผู้มีอำนาจจัดการเพจดังกล่าว ศาลอาญาได้มีการไต่สวนมูลฟ้องเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม และ 5 สิงหาคม 2562 และในวันที่ 18 กันยายน 2562 ศาลอาญามีคำสั่งไม่รับฟ้องเนื่องจากไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอ ธรรมเกษตรได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องดังกล่าว และจะมีนัดฟังคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลอาญาซึ่งไม่รับฟ้องดำเนินคดีกับงามศุกร์ ธรรมเกษตรยื่นฎีกาคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว โดยศาลอาญาที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 22 กันยายน 2564 ศาลอาญาที่กรุงเทพฯ นัดอ่านคำสั่งศาลฎีกา โดยศาลฎีกาพิพากษายืนยันตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ซึ่งไม่รับฟ้องดำเนินคดีกับงามศุกร์ คำสั่งดังกล่าวมีผลให้คดีถึงที่สุด


10. การดําเนินคดีอาญากับอดีตคนงานสามคน และผู้ประสานงานเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ จากการร้องเรียนกรณีละเมิดสิทธิแรงงานต่อพนักงานตรวจแรงงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 ธรรมเกษตรได้ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลแขวงลพบุรี เพื่อดำเนินคดีกับ อดีตคนงานสามคน (นางกะทะวา โซ, นายนาน โท, และนายนาน วิน) [13] และนางสาวสุธาสินี แก้วเหล็กไหล นักปกป้องสิทธิแรงงานและผู้ประสานงานเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาสังคมด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิประการต่าง ๆ ของแรงงานข้ามชาติ ในข้อหาความผิดฐาน "แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน" (มาตรา 137 ประมวลกฎหมายอาญา) จากการที่คนงานได้ยื่นร้องเรียนกรณีละเมิดสิทธิแรงงานต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเมื่อปี 2559 การไต่สวนมูลฟ้องมีขึ้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2563 และในวันที่ 18 มีนาคม 2563 ศาลแขวงลพบุรีมีคำสั่งไม่รับฟ้องของธรรมเกษตร เนื่องจากได้มีการวินิจฉัยไว้แล้วในมูลคดีเดียวกันที่ศาลแขวงดอนเมืองซึ่งพบว่าจำเลยไม่ได้แจ้งความเท็จ [ดูข้อ 1] ธรรมเกษตรพยายามยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งไม่รับฟ้องดังกล่าวต่อศาลแขวงลพบุรี แต่คดีดังกล่าวต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา [14] ธรรมเกษตรจึงยื่นต่อศาลอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงของศาลแขวงลพบุรี โดยศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนยันไม่รับอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีนี้ ธรรมเกษตรจึงยื่นคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวต่อศาลฎีกา เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 ศาลฏีกามีคำสั่งยืนยันตามศาลอุทธรณ์โดยไม่รับอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีนี้ คำสั่งดังกล่าวมีผลให้คดีถึงที่สุด

11-12. การดำเนินคดีอาญากับอดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจากการโพสต์และแชร์ข้อมูลสนับสนุนนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงในทวิตเตอร์

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562 ธรรมเกษตรได้ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ในข้อหาความผิดฐาน “หมิ่นประมาท” (มาตรา 326 ประมวลกฎหมายอาญา) และ “หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา” (มาตรา 328) เพื่อดำเนินคดีกับ นางอังคณา นีละไพจิตร นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และอดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คำฟ้องดังกล่าวเกี่ยวเนื่องกับการที่อังคณาได้โพสต์ในทวิตเตอร์จำนวนสองครั้ง เพื่อแสดงการสนับสนุนนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิง นางสาวสุธารี วรรณศิริ [ดูข้อ 5] และ นางสาวงามศุกร์ รัตนเสถียร [ดูข้อ 9] ซึ่งมีไฮเปอร์ลิ้งก์ไปยังวีดีโอเพื่อการรณรงค์ของฟอร์ตี้ฟายไรต์ซึ่งธรรมเกษตรเห็นว่าเป็นการหมิ่นประมาท การไต่สวนมูลฟ้องได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 ในวันดังกล่าว ศาลปฏิเสธที่จะพิจารณาคำร้องซึ่งทนายความของอังคณายื่นไว้ต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งยกฟ้องของธรรมเกษตรโดยอาศัยเหตุตามมาตรา 161/1 และ 165/2 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การไต่สวนมูลฟ้องครั้งที่สองได้เลื่อนจากวันที่ 8 เมษายน เป็นวันที่ 8 มิถุนายน 2563 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในวันที่ 8 มิถุนายน 2563 ศาลปฏิเสธคำร้องขอรวมพิจารณาคดีนี้ร่วมกับคดีของนางสาวพุทธณี กางกั้น [ดูข้อ 13] การสืบพยานปากแรกจากทั้งหมดสามปากของธรรมเกษตรไม่เสร็จครบถ้วนภายในวันที่ 4 สิงหาคมและ 3 กับ 9 พฤศจิกายน 2563 และเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ศาลจึงได้เลื่อนวันนัดไต่สวนมูลฟ้องนัดถัดไปจากเดิมวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 ศาลทำการสืบพยานปากแรกเสร็จในวันที่ 22 และ 29 มีนาคม 2564 และได้สืบพยานแล้วเสร็จอีกสองปากในวันที่ 28 มิถุนายม 2564 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564 ศาลมีคำสั่งรับฟ้องเพื่อดำเนินคดีหมิ่นประมาททางอาญากับอังคณา เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2564 ซึ่งเป็นวันพิจารณาคดีครั้งแรก ศาลได้สอบถามคำให้การจำเลยและกำหนดวันนัดสืบพยานฝ่ายโจทก์ในวันที่ 3, 4 และ 8 มีนาคม 2565 (ธรรมเกษตร) และสืบพยานฝ่ายจำเลยในวันที่ 9, 10 และ 11 มีนาคม 2565 (อังคณา) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ศาลเลื่อนการเริ่มพิจารณาคดีเป็นวันที่ 25 เมษายน 2565 เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2565 ศาลได้มีการนัดไต่สวนพยาน ณ ศาลอาญากรุงเทพใต้ โดยในวันนี้ ศาลได้มีการกำหนดนัดหมายวันสืบพยานฝ่ายธรรมเกษตร ซึ่งเป็นวันที่ 14-17 มีนาคม 2566 และกำหนดนัดหมายวันสืบพยานฝ่ายอังคณา ซึ่งเป็นวันที่ 21-22 มีนาคม 2566

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563 ธรรมเกษตรได้ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ในข้อหาความผิดฐาน “หมิ่นประมาท” (มาตรา 326 ประมวลกฎหมายอาญา) และ “หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา” (มาตรา 328) เพื่อดำเนินคดีกับอังคณาเพิ่มเติม คำฟ้องดังกล่าวเกี่ยวเนื่องกับการที่อังคณาได้โพสต์ในทวิตเตอร์จำนวนสองครั้ง เพื่อแสดงการสนับสนุนนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงที่ถูกดำเนินคดีหมิ่นประมาททางอาญาโดยธรรมเกษตร ข้อความที่โพสต์ได้อ้างถึงแถลงการณ์ซึ่งมีส่วนเชื่อมโยงไปยังแถลงการณ์บางฉบับที่มีไฮเปอร์ลิ้งก์ไปยังวีดีโอเพื่อการรณรงค์ของฟอร์ตี้ฟายไรต์ ศาลกำหนดวันนัดไกล่เกลี่ยระหว่างธรรมเกษตรกับอังคณาเป็นวันที่ 5 สิงหาคม 2563 แต่การไกล่เกลี่ยไม่เป็นผลสำเร็จเนื่องจากคู่ความไม่อาจตกลงกันได้ กำหนดไต่สวนมูลฟ้องเป็นวันที่ 24 สิงหาคม 2563 ในวันที่ 24 สิงหาคม 2563 ศาลพิจารณาคำร้องขอรวมพิจารณาคดีที่ยื่นโดยทนายความของอังคณาและธรรมเกษตร เพื่อให้ศาลมีคำสั่งรวมพิจารณาไต่สวนมูลฟ้องคดีนี้กับคดีของนางสาวพุทธณี กางกั้น [ดูข้อ 13] และนางสาวธนภรณ์ สาลีผล [ดูข้อ 16] เข้าไว้ด้วยกัน ศาลจึงมีคำสั่งให้เลื่อนการไต่สวนมูลฟ้องออกไปเป็นวันที่ 14 กันยายน 2563 ในวันดังกล่าวศาลได้มีคำสั่งในเรื่องการรวมพิจารณาคดีตามคำร้องของทนายความ ซึ่งเป็นการรวมหนึ่งคดีของอังคณา [ดูข้อ 12] คดีของธนภรณ์ [ดูข้อ 16] และอีกสองคดีของพุทธณี [ดูข้อ 13 และ 14] เข้าไว้ด้วยกัน ธรรมเกษตรมีพยานบุคคลรวมสี่ปาก ซึ่งได้นำสืบพยานปากแรกเมื่อ 23 และ 30 พฤศจิกายน 2563 แต่พยานปากแรกยังคงสืบไม่แล้วเสร็จ และเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ศาลจึงได้เลื่อนวันพิจารณาคดีครั้งถัดไปจากเดิมวันที่ 18 และ 25 มกราคม 19 และ 26 เมษายน 2564 เป็นวันที่ 21 มิถุนายน 2564 ในวันที่ 21 มิถุนายน 2564 ศาลได้หารือร่วมกับคู่ความเพื่อกำหนดวันพิจารณาคดีครั้งถัดไปโดยกำหนดเป็นวันที่ 27 ธันวาคม 2564 เพื่อดำเนินการสืบพยานต่อไป แต่ต่อมาศาลได้เลื่อนวันนัดจาก 27 ธันวาคม 2564 เป็น 21 มีนาคม 2565 เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในวันที่ 21 มีนาคม ศาลดำเนินการสืบพยานและกำหนดวันพิจารณาคดีครั้งต่อไปเป็นวันที่ 31 พฤษภาคม โดยในวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ศาลดำเนินการสืบพยานและกำหนดการพิจารณาคดีครั้งถัดไปเป็นวันที่ 17 มิถุนายน 2565 เพื่อสืบพยานของฝ่ายธรรมเกษตรต่อไปในวันที่ 17 มิถุนายน 2565 จำเลยทั้งสามแจ้งความประสงค์ขอยื่นคำแถลงเกี่ยวกับคดีเพื่อให้ศาลพิจารณา โดยศาลกำหนดการพิจารณาคดีครั้งถัดไปเป็นวันที่ 12 กันยายน 2565 ในวันที่ 12 กันยายน 2565 ศาลอาญามีคำสั่งรับฟ้องเพื่อดำเนินคดีอาญาต่อ อังคณา [ดูข้อ 12] ธนภรณ์ [ดูข้อ 16] และ พุทธณี [ดูข้อ 13 และ 14] โดยกำหนดวันพิจารณาคดีครั้งแรกในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 อังคณาและที่ปรึกษาด้านกฎหมายได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคดีฟ้องหมิ่นประมาททั้งสอง [ดูข้อ 11 และ 12] พร้อมกัน การพิจารณาคดีถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 19 ธันวาคม 2565 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ศาลเลื่อนการพิจารณาคำร้องขอให้ศาลรวมพิจารณาคดีทั้งสองของอังคณา [ดูข้อ 11 และ 12] ออกไปเป็นวันที่ 16 มกราคม 2566 ในวันที่ 16 มกราคม 2566 ศาลได้อนุมัติการรวมพิจารณาคดีทั้งสอง [ดูข้อ 11 และ 12] ของอังคณา การสืบพยานของธรรมเกษตรมีขึ้นเมื่อวันที่ 14 ถึง 17 มีนาคม 2566 พยานฝ่ายธรรมเกษตรสามคนที่มาให้ปากคำได้แก่ : นายชาญชัย เพิ่มผล ตัวแทนของธรรมเกษตร ; หัวหน้าสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลพบุรี ; และเจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เมื่อวันที่ 22-23 มีนาคม 2566 ศาลทำการสืบพยานจำเลยทั้งสาม [ดูข้อ 11, 12, 13, 14, และ 16] เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ศาลทำการสืบพยานคนเดียวของฝ่าย จำเลย ได้แก่ ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ด้านสิทธิมนุษยชนประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 ศาลแถลงวันนัดฟังคำพิพากษาคดีหมิ่นประมาทาททางอาญาของจำเลยทั้งสาม [ดูข้อ 11, 12, 13, 14, และ 16] เป็นวันที่ 29 สิงหาคม 2566 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 ศาลยกฟ้องจำเลยทั้งสาม [ดูข้อ 11, 12, 13, 14, และ 16] ในคดีหมิ่นประมาททางอาญา ศาลเห็นว่าโพสต์ในโซเชียลมีเดียไม่ได้กล่าวถึงธรรมเกษตรโดยตรงและข้อความของจำเลยเป็นการแสดงออก "โดยสุจริต" ไม่ได้มีเจตนาทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของธรรมเกษตร

13-14. การดำเนินคดีอาญากับผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนอาวุโสจากการโพสต์และแชร์ข้อมูลสนับสนุนนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงในโซเชียลมีเดีย

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2562 ธรรมเกษตรได้ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ในข้อหาความผิดฐาน “หมิ่นประมาท” (มาตรา 326 ประมวลกฎหมายอาญา) และ “หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา” (มาตรา 328) เพื่อดำเนินคดีกับ นางสาวพุทธณี กางกั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนอาวุโสของฟอร์ตี้ฟายไรต์ เหตุแห่งการฟ้องสืบเนื่องมาจากพุทธณีได้โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดียจำนวน 14 ครั้ง (ทวิตสามครั้ง รีทวิตเก้าครั้ง และโพสต์บนเฟซบุ๊กสองครั้ง) ระหว่าง 25 มกราคมถึง 17 กันยายน 2562 เพื่อแสดงการสนับสนุนต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงที่ถูกดำเนินคดีหมิ่นประมาททางแพ่งและทางอาญาโดยธรรมเกษตร การไต่สวนมูลฟ้องได้เริ่มขึ้นเมื่อ 2 มีนาคม 2563 ในวันดังกล่าว ศาลมีคำสั่งยกคำร้องซึ่งทนายความของพุทธณียื่นไว้ต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งยกฟ้องของธรรมเกษตรโดยอาศัยเหตุตามมาตรา 161/1 และ 165/2 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ศาลได้เลื่อนนัดไปเป็นวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 และต่อมาได้เลื่อนนัดอีกครั้งไปยังวันที่ 8 มิถุนายน 2563 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในวันไต่สวนมูลฟ้องเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2563 ศาลได้ร่วมหารือกับทนายความของทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับอีกหนึ่งคดีที่ธรรมเกษตรฟ้องพุทธณี [ดูย่อหน้าถัดไป] โดยศาลจะพิจารณาในเรื่องการรวมพิจารณาทั้งสองคดีเข้าไว้ด้วยกันโดยมีกำหนดวันนัดไต่สวนมูลฟ้องเป็นวันที่ 17 สิงหาคม 2563 ในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 ศาลพิจารณาให้รวมคดีนี้เข้ากับคดีของนางสาวธนภรณ์ สาลีผล [ดูข้อ 16] และกำหนดนัดไต่สวนมูลฟ้องครั้งต่อไปเป็นวันที่ 14 กันยายน 2563 ในวันดังกล่าวศาลได้มีคำสั่งในเรื่องการรวมพิจารณาคดี โดยรวมสองคดีของพุทธณี [ดูข้อ 13 และ 14] หนึ่งคดีของอังคณา [ดูข้อ 12] และคดีของธนภรณ์ [ดูข้อ 16] เข้าไว้ด้วยกันตามคำร้องของทนายความ ธรรมเกษตรมีพยานบุคคลรวมสี่ปาก ซึ่งได้นำสืบพยานปากแรกเมื่อ 23 และ 30 พฤศจิกายน 2563 แต่พยานปากแรกยังคงสืบไม่แล้วเสร็จ และเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ศาลจึงได้เลื่อนวันพิจารณาคดีครั้งถัดไปจากเดิมวันที่ 18 และ 25 มกราคม 19 และ 26 เมษายน 2564 เป็นวันที่ 21 มิถุนายน 2564 ในวันที่ 21 มิถุนายน 2564 ศาลได้หารือร่วมกับคู่ความเพื่อกำหนดวันพิจารณาคดีครั้งถัดไปโดยกำหนดเป็นวันที่ 27 ธันวาคม 2564 เพื่อดำเนินการสืบพยานต่อไป แต่ต่อมาศาลได้เลื่อนวันนัดจาก 27 ธันวาคม 2564 เป็น 21 มีนาคม 2565 เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในวันที่ 21 มีนาคม ศาลดำเนินการสืบพยานและกำหนดวันพิจารณาคดีครั้งต่อไปเป็นวันที่ 31 พฤษภาคม โดยในวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ศาลดำเนินการสืบพยานและกำหนดการพิจารณาคดีครั้งถัดไปเป็นวันที่ 17 มิถุนายน 2565 เพื่อสืบพยานของฝ่ายธรรมเกษตรต่อไปในวันที่ 17 มิถุนายน 2565 จำเลยทั้งสามแจ้งความประสงค์ขอยื่นคำแถลงเกี่ยวกับคดีเพื่อให้ศาลพิจารณา โดยศาลกำหนดการพิจารณาคดีครั้งถัดไปเป็นวันที่ 12 กันยายน 2565 ในวันที่ 12 กันยายน 2565 ศาลอาญามีคำสั่งรับฟ้องเพื่อดำเนินคดีอาญาต่อ อังคณา [ดูข้อ 12] ธนภรณ์ [ดูข้อ 16] และ พุทธณี [ดูข้อ 13 และ 14] โดยกำหนดวันพิจารณาคดีครั้งแรกในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 อังคณาและที่ปรึกษาด้านกฎหมายได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคดีฟ้องหมิ่นประมาททั้งสอง [ดูข้อ 11 และ 12] พร้อมกัน การพิจารณาคดีถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 19 ธันวาคม 2565 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ศาลเลื่อนการพิจารณาคำร้องขอให้ศาลรวมพิจารณาคดีทั้งสองของอังคณา [ดูข้อ 11 และ 12] ออกไปเป็นวันที่ 16 มกราคม 2566 ในวันที่ 16 มกราคม 2566 ศาลได้อนุมัติการรวมพิจารณาคดีทั้งสอง [ดูข้อ 11 และ 12] ของอังคณา การสืบพยานของธรรมเกษตรมีขึ้นเมื่อวันที่ 14 ถึง 17 มีนาคม 2566 พยานฝ่ายธรรมเกษตรสามคนที่มาให้ปากคำได้แก่ : นายชาญชัย เพิ่มผล ตัวแทนของธรรมเกษตร ; หัวหน้าสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลพบุรี ; และเจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เมื่อวันที่ 22-23 มีนาคม 2566 ศาลทำการสืบพยานจำเลยทั้งสาม [ดูข้อ 11, 12, 13, 14, และ 16] เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ศาลทำการสืบพยานคนเดียวของฝ่าย จำเลย ได้แก่ ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ด้านสิทธิมนุษยชนประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 ศาลแถลงวันนัดฟังคำพิพากษาคดีหมิ่นประมาทาททางอาญาของจำเลยทั้งสาม [ดูข้อ 11, 12, 13, 14, และ 16] เป็นวันที่ 29 สิงหาคม 2566 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 ศาลยกฟ้องจำเลยทั้งสาม [ดูข้อ 11, 12, 13, 14, และ 16] ในคดีหมิ่นประมาททางอาญา ศาลเห็นว่าโพสต์ในโซเชียลมีเดียไม่ได้กล่าวถึงธรรมเกษตรโดยตรงและข้อความของจำเลยเป็นการแสดงออก "โดยสุจริต" ไม่ได้มีเจตนาทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของธรรมเกษตร

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563 ธรรมเกษตรได้ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ในข้อหาความผิดฐาน “หมิ่นประมาท” (มาตรา 326 ประมวลกฎหมายอาญา) และ “หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา” (มาตรา 328) เพื่อดำเนินคดีกับพุทธณีเพิ่มเติม คำฟ้องดังกล่าวเกี่ยวเนื่องกับการที่พุทธณีได้โพสต์ในทวิตเตอร์จำนวนเจ็ดครั้ง ระหว่าง 29 พฤศจิกายน 2562 ถึง 30 มกราคม 2563 ซึ่งมีข้อความอ้างอิงไปถึงแถลงการณ์ซึ่งมีส่วนเชื่อมโยงไปยังแถลงการณ์บางฉบับที่มีไฮเปอร์ลิ้งก์ไปยังวีดีโอเพื่อการรณรงค์ของฟอร์ตี้ฟายไรต์ ศาลกำหนดวันนัดไกล่เกลี่ยระหว่างธรรมเกษตรกับพุทธณีเป็นวันที่ 5 สิงหาคม 2563 แต่การไกล่เกลี่ยไม่เป็นผลสำเร็จเนื่องจากคู่ความไม่อาจตกลงกันไกำหนดไต่สวนมูลฟ้องเป็นวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ในวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ศาลพิจารณาคำร้องขอรวมพิจารณาคดีที่ยื่นโดยทนายความของพุทธณีและธรรมเกษตร เพื่อให้ศาลมีคำสั่งรวมพิจารณาไต่สวนมูลฟ้องคดีนี้กับอีกคดีของพุทธณี [ดูข้อ 13] และคดีของนางสาวธนภรณ์ สาลีผล [ดูข้อ 16] เข้าไว้ด้วยกัน ศาลจึงมีคำสั่งให้เลื่อนการไต่สวนมูลฟ้องออกไปเป็นวันที่ 14 กันยายน 2563 ในวันดังกล่าวศาลได้มีคำสั่งในเรื่องการรวมพิจารณาคดีตามคำร้องของทนายความ ซึ่งเป็นการรวมสองคดีของพุทธณี [ดูข้อ 13 และ 14] หนึ่งคดีของอังคณา [ดูข้อ 12] และคดีของธนภรณ์ [ดูข้อ 16] เข้าไว้ด้วยกัน ธรรมเกษตรมีพยานบุคคลรวมสี่ปาก ซึ่งได้นำสืบพยานปากแรกเมื่อ 23 และ 30 พฤศจิกายน 2563 แต่พยานปากแรกยังคงสืบไม่แล้วเสร็จ และเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ศาลจึงได้เลื่อนวันพิจารณาคดีครั้งถัดไปจากเดิมวันที่ 18 และ 25 มกราคม 19 และ 26 เมษายน 2564 เป็นวันที่ 21 มิถุนายน 2564 ในวันที่ 21 มิถุนายน 2564 ศาลได้หารือร่วมกับคู่ความเพื่อกำหนดวันพิจารณาคดีครั้งถัดไปโดยกำหนดเป็นวันที่ 27 ธันวาคม 2564 เพื่อดำเนินการสืบพยานต่อไป แต่ต่อมาศาลได้เลื่อนวันนัดจาก 27 ธันวาคม 2564 เป็น 21 มีนาคม 2565 เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในวันที่ 21 มีนาคม ศาลดำเนินการสืบพยานและกำหนดวันพิจารณาคดีครั้งต่อไปเป็นวันที่ 31 พฤษภาคม โดยในวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ศาลดำเนินการสืบพยานและกำหนดการพิจารณาคดีครั้งถัดไปเป็นวันที่ 17 มิถุนายน 2565 เพื่อสืบพยานของฝ่ายธรรมเกษตรต่อไปในวันที่ 17 มิถุนายน 2565 จำเลยทั้งสามแจ้งความประสงค์ขอยื่นคำแถลงเกี่ยวกับคดีเพื่อให้ศาลพิจารณา โดยศาลกำหนดการพิจารณาคดีครั้งถัดไปเป็นวันที่ 12 กันยายน 2565 ในวันที่ 12 กันยายน 2565 ศาลอาญามีคำสั่งรับฟ้องเพื่อดำเนินคดีอาญาต่อ อังคณา [ดูข้อ 12] ธนภรณ์ [ดูข้อ 16] และ พุทธณี [ดูข้อ 13 และ 14] โดยกำหนดวันพิจารณาคดีครั้งแรกในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 อังคณาและที่ปรึกษาด้านกฎหมายได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคดีฟ้องหมิ่นประมาททั้งสอง [ดูข้อ 11 และ 12] พร้อมกัน การพิจารณาคดีถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 19 ธันวาคม 2565 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ศาลเลื่อนการพิจารณาคำร้องขอให้ศาลรวมพิจารณาคดีทั้งสองของอังคณา [ดูข้อ 11 และ 12] ออกไปเป็นวันที่ 16 มกราคม 2566 ในวันที่ 16 มกราคม 2566 ศาลได้อนุมัติการรวมพิจารณาคดีทั้งสอง [ดูข้อ 11 และ 12] ของอังคณา การสืบพยานของธรรมเกษตรมีขึ้นเมื่อวันที่ 14 ถึง 17 มีนาคม 2566 พยานฝ่ายธรรมเกษตรสามคนที่มาให้ปากคำได้แก่ : นายชาญชัย เพิ่มผล ตัวแทนของธรรมเกษตร ; หัวหน้าสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลพบุรี ; และเจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เมื่อวันที่ 22-23 มีนาคม 2566 ศาลทำการสืบพยานจำเลยทั้งสาม [ดูข้อ 11, 12, 13, 14, และ 16] เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ศาลทำการสืบพยานคนเดียวของฝ่าย จำเลย ได้แก่ ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ด้านสิทธิมนุษยชนประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 ศาลแถลงวันนัดฟังคำพิพากษาคดีหมิ่นประมาทาททางอาญาของจำเลยทั้งสาม [ดูข้อ 11, 12, 13, 14, และ 16] เป็นวันที่ 29 สิงหาคม 2566 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 ศาลยกฟ้องจำเลยทั้งสาม [ดูข้อ 11, 12, 13, 14, และ 16] ในคดีหมิ่นประมาททางอาญา ศาลเห็นว่าโพสต์ในโซเชียลมีเดียไม่ได้กล่าวถึงธรรมเกษตรโดยตรงและข้อความของจำเลยเป็นการแสดงออก "โดยสุจริต" ไม่ได้มีเจตนาทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของธรรมเกษตร



15. การดำเนินคดีอาญากับอดีตคนงานจากการเบิกความต่อศาลแรงงาน

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 ธรรมเกษตรได้ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลจังหวัดสระบุรี เพื่อดำเนินคดีกับ นายโทน โทน วิน หนึ่งในคนงานข้ามชาติ 14 คนจากเมียนมา ในข้อหาความผิดฐาน "เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล" (มาตรา 177 ประมวลกฎหมายอาญา) ในคดีแรงงานระหว่างธรรมเกษตรกับคนงานข้ามชาติทั้ง 14 โดยไม่คาดคิดว่าตนเองจะถูกฟ้องคดี ศาลจังหวัดสระบุรีได้มีการไต่สวนมูลฟ้องไปเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2562 ในวันที่ 26 สิงหาคม 2562 ศาลมีคำสั่งรับฟ้องเพื่อดำเนินคดีกับโทนโทนวินเพราะเห็นว่าคดีมีมูล และได้มีการพิจารณาคดีนัดแรกในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 แต่โทนโทนวินไม่ได้มาปรากฏตัวในวันนัดพิจารณา ศาลจึงมีคำสั่งออกหมายจับโทน โทน วิน โดยในวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ศาลดำเนินการสืบพยานและกำหนดการพิจารณาคดีครั้งถัดไปเป็นวันที่ 17 มิถุนายน 2565 เพื่อสืบพยานของฝ่ายธรรมเกษตรต่อไป

16. การดำเนินคดีอาญากับอดีตผู้ช่วยด้านสื่อสารจากการโพสต์และแชร์ข้อมูลสนับสนุนนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงในโซเชียลมีเดีย

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563 ธรรมเกษตรได้ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ในข้อหาความผิดฐาน “หมิ่นประมาท” (มาตรา 326 ประมวลกฎหมายอาญา) และ “หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา” (มาตรา 328) เพื่อดำเนินคดีกับ นางสาวธนภรณ์ สาลีผล อดีตผู้ช่วยด้านสื่อสารของฟอร์ตี้ฟายไรต์ เหตุแห่งการฟ้องสืบเนื่องมาจากการที่ธนภรณ์โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดียห้าครั้ง (ทวิตสองครั้ง และรีทวิตสามครั้ง) ระหว่าง 24 พฤศจิกายน 2562 ถึง 30 มกราคม 2563 เพื่อแสดงการสนับสนุนต่อนางอังคณา นีละไพจิตร [ดูข้อ 11] และนางสาวพุทธณี กางกั้น [ดูข้อ 12] สองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงซึ่งถูกธรรมเกษตรฟ้องคดีหมิ่นประมาททางอาญา ศาลกำหนดวันนัดไกล่เกลี่ยระหว่างธรรมเกษตรกับธนภรณ์เป็นวันที่ 5 สิงหาคม 2563 แต่การไกล่เกลี่ยไม่เป็นผลสำเร็จเนื่องจากคู่ความไม่อาจตกลงกันได้ และนัดไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 ในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 ศาลมีคำสั่งยกคำร้องซึ่งทนายความของธนภรณ์ยื่นไว้ต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งยกฟ้องของธรรมเกษตรโดยอาศัยเหตุตามมาตรา 161/1 และ 165/2 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ศาลได้พิจารณาให้รวมคดีนี้เข้ากับคดีของนางสาวพุทธณี กางกั้น [ดูข้อ 13] และกำหนดนัดไต่สวนมูลฟ้องครั้งต่อไปเป็นวันที่ 14 กันยายน 2563 ในวันดังกล่าวศาลได้มีคำสั่งในเรื่องการรวมพิจารณาคดี ซึ่งเป็นการรวมคดีของธนภรณ์ [ดูข้อ 16] สองคดีของพุทธณี [ดูข้อ 13 และ 14] และหนึ่งคดีของอังคณา [ดูข้อ 12] เข้าไว้ด้วยกันตามคำร้องของทนายความ ธรรมเกษตรมีพยานบุคคลรวมสี่ปาก ซึ่งได้นำสืบพยานปากแรกเมื่อ 23 และ 30 พฤศจิกายน 2563 แต่พยานปากแรกยังคงสืบไม่แล้วเสร็จ และเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ศาลจึงได้เลื่อนวันพิจารณาคดีครั้งถัดไปจากเดิมวันที่ 18 และ 25 มกราคม 19 และ 26 เมษายน 2564 เป็นวันที่ 21 มิถุนายน 2564 ในวันที่ 21 มิถุนายน 2564 ศาลได้หารือร่วมกับคู่ความเพื่อกำหนดวันพิจารณาคดีครั้งถัดไปโดยกำหนดเป็นวันที่ 27 ธันวาคม 2564 เพื่อดำเนินการสืบพยานต่อไป แต่ต่อมาศาลได้เลื่อนวันนัดจาก 27 ธันวาคม 2564 เป็น 21 มีนาคม 2565 เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในวันที่ 21 มีนาคม ศาลดำเนินการสืบพยานและกำหนดวันพิจารณาคดีครั้งต่อไปเป็นวันที่ 31 พฤษภาคม โดยในวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ศาลดำเนินการสืบพยานและกำหนดการพิจารณาคดีครั้งถัดไปเป็นวันที่ 17 มิถุนายน 2565 เพื่อสืบพยานของฝ่ายธรรมเกษตรต่อไป ในวันที่ 17 มิถุนายน 2565 จำเลยทั้งสามแจ้งความประสงค์ขอยื่นคำแถลงเกี่ยวกับคดีเพื่อให้ศาลพิจารณา โดยศาลกำหนดการพิจารณาคดีครั้งถัดไปเป็นวันที่ 12 กันยายน 2565 ในวันที่ 12 กันยายน 2565 ศาลอาญามีคำสั่งรับฟ้องเพื่อดำเนินคดีอาญาต่อ อังคณา [ดูข้อ 12] ธนภรณ์ [ดูข้อ 16] และ พุทธณี [ดูข้อ 13 และ 14] โดยกำหนดวันพิจารณาคดีครั้งแรกในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 อังคณาและที่ปรึกษาด้านกฎหมายได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคดีฟ้องหมิ่นประมาททั้งสอง [ดูข้อ 11 และ 12] พร้อมกัน การพิจารณาคดีถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 19 ธันวาคม 2565 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ศาลเลื่อนการพิจารณาคำร้องขอให้ศาลรวมพิจารณาคดีทั้งสองของอังคณา [ดูข้อ 11 และ 12] ออกไปเป็นวันที่ 16 มกราคม 2566 ในวันที่ 16 มกราคม 2566 ศาลได้อนุมัติการรวมพิจารณาคดีทั้งสอง [ดูข้อ 11 และ 12] ของอังคณา การสืบพยานของธรรมเกษตรมีขึ้นเมื่อวันที่ 14 ถึง 17 มีนาคม 2566 พยานฝ่ายธรรมเกษตรสามคนที่มาให้ปากคำได้แก่ : นายชาญชัย เพิ่มผล ตัวแทนของธรรมเกษตร ; หัวหน้าสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลพบุรี ; และเจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เมื่อวันที่ 22-23 มีนาคม 2566 ศาลทำการสืบพยานจำเลยทั้งสาม [ดูข้อ 11, 12, 13, 14, และ 16] เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ศาลทำการสืบพยานคนเดียวของฝ่าย จำเลย ได้แก่ ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ด้านสิทธิมนุษยชนประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 ศาลแถลงวันนัดฟังคำพิพากษาคดีหมิ่นประมาทาททางอาญาของจำเลยทั้งสาม [ดูข้อ 11, 12, 13, 14, และ 16] เป็นวันที่ 29 สิงหาคม 2566 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 ศาลยกฟ้องจำเลยทั้งสาม [ดูข้อ 11, 12, 13, 14, และ 16] ในคดีหมิ่นประมาททางอาญา ศาลเห็นว่าโพสต์ในโซเชียลมีเดียไม่ได้กล่าวถึงธรรมเกษตรโดยตรงและข้อความของจำเลยเป็นการแสดงออก "โดยสุจริต" ไม่ได้มีเจตนาทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของธรรมเกษตร



17. การดำเนินคดีแพ่งกับบริษัทธุรกิจสื่อจากการรายงานข่าวลงในทวิตเตอร์ซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิแรงงาน

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562 ธรรมเกษตรได้ยื่นฟ้องคดีแพ่งต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้เพื่อดำเนินคดีกับบริษัทธุรกิจสื่อ วอยซ์ทีวี เหตุแห่งการฟ้องสืบเนื่องมาจากข้อความซึ่งโพสต์ลงในทวิตเตอร์ในชื่อของ Voice Online ที่มีการใช้ภาษาระบุถึงการปฏิบัติของธรรมเกษตรต่อคนงานข้ามชาติ 14 คนจากเมียนมา โดยธรรมเกษตรอ้างว่าสร้างความเสียหายแก่ชื่อเสียงของบริษัท ธรรมเกษตรเรียกร้องให้วอยซ์ทีวี (1) ทำลายข้อความในระบบอินเตอร์เน็ตหรือคอมพิวเตอร์ (2) ลงประกาศขอโทษธรรมเกษตรในหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ รวมทั้งในทวิตเตอร์และเว็บไซต์ของวอยซ์ทีวี และ (3) จ่ายค่าธรรมเนียมและค่าทนายความให้ธรรมเกษตร การสืบพยานได้มีขึ้นระหว่างวันที่ 16 ถึง18 มิถุนายน 2563 ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2563 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิพากษายกฟ้องคดี ศาลเห็นว่าข้อความซึ่งโพสต์ลงในทวิตเตอร์ในชื่อของ Voice Online นั้นเป็นความจริง ดังนั้นวอยซ์ทีวีจึงไม่ได้กระทำหมิ่นประมาททางแพ่ง

กำหนดการพิจารณาคดี


คดีอาญา

29 สิงหาคม 2566 (หมิ่นประมาท ; พุทธณี กางกั้น [ดูข้อ 13 และ 14] ธนภรณ์ สาลีผล [ดูข้อ 16] และอังคณา นีละไพจิตร [ดูข้อ 11 และ 12]) : ฟังคำพิพากษาที่ศาลอาญากรุงเทพใต้

กฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายอาญา
‘แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน’ มาตรา 137 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
‘เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล’ มาตรา 177 ผู้ใดเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ได้กระทำในการพิจารณาคดีอาญา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกิน 140,000 บาท
‘เอาไปซึ่งเอกสารของผู้อื่นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย’ มาตรา 188 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งพินัยกรรมหรือเอกสารใดของผู้อื่น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท
‘หมิ่นประมาท’ มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
’หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา’ มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
บทยกเว้นความผิด - แสดงความเห็นหรือข้อความโดยสุจริต’ มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต

(1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
(2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
(3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
(4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม

ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
บทยกเว้นโทษ - ข้อหาที่ว่าหมิ่นประมาทเป็นความจริง ’ มาตรา 330 ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
‘ลักทรัพย์’ มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท
‘ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน และลักทรัพย์นายจ้าง’ มาตรา 335 ผู้ใดลักทรัพย์
(1) ในเวลากลางคืน

(11) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง

ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท

ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 140,000 บาท
‘รับของโจร’ มาตรา 357 วรรค 1 ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
‘นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ’ มาตรา 14 (ปัจจุบันถูกยกเลิก) ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน …
หมายเหตุ : มาตราดังกล่าวได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ดังนี้

มาตรา 14 (มีผลบังคับ) ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา …
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
‘อำนาจศาลในการยกฟ้องกรณีโจทก์ฟ้องคดีไม่สุจริต’ มาตรา 161/1 ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ หากความปรากฏต่อศาลเองหรือมีพยานหลักฐานที่ศาลเรียกมาว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจำเลยหรือโดยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโยชน์ที่พึงได้โดยชอบ ให้ศาลยกฟ้อง และห้ามมิให้โจทก์ยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันนั้นอีก

การฟ้องคดีโดยไม่สุจริตตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงการที่โจทก์จงใจฝ่าฝืนคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลในคดีอาญาอื่นซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรด้วย
‘สิทธิของจำเลยในการแถลงข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่ศาลควรสั่งว่าคดีไม่มีมูล’ มาตรา 165/2 ในการไต่สวนมูลฟ้อง จำเลยอาจแถลงให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงหรือ
ข้อกฎหมายอันสำคัญที่ศาลควรสั่งว่าคดีไม่มีมูล และจะระบุในคำแถลงถึงตัวบุคคล เอกสาร หรือวัตถุที่จะสนับสนุนข้อเท็จจริงตามคำแถลงของจำเลยด้วยก็ได้ กรณีเช่นว่านี้ ศาลอาจเรียกบุคคล เอกสารหรือวัตถุดังกล่าวมาเป็นพยานศาลเพื่อประกอบการวินิจฉัยสั่งคดีได้ตามที่จำเป็นและสมควร โดยโจทก์และจำเลยอาจถามพยานศาลได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาล

กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
‘ละเมิดเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียง’ มาตรา 423 ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้

ผู้ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่
Lire la suite