ประเทศไทย : รัฐบาลทหารต้องเคารพเสรีภาพที่กฎหมายระหว่างประเทศรับรอง

31/05/2014
Communiqué
en es th

ปารีส, 30 พฤกษภาคม 2557 : สหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากลเรียกร้องรัฐบาลทหารไทยในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องเคารพเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่กฎหมายระหว่างประเทศรับรอง ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคี ข้อเรียกร้องนี้เกิดขึ้นหลังจากสถานการณ์สิทธิมนุษยชนเสื่อมทรามลงอย่างรุนเเรงเเละรวดเร็ว หลังจาก คสช. ประกาศยึดอำนาจเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557

นายการิม ลาฮิดจี ประธานสหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล กล่าวว่า การใช้กฎอัยการศึกเเละการระงับใช้รัฐธรรมนูญไม่ใช่ใบอนุญาตให้รัฐบาลทหารละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยไม่ละอาย การกระทำของรัฐบาลทหารนั้นเป็นการเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศอย่างเปิดเผยเเละไม่เกรงกลัว เเละรัฐบาลทหารต้องยุติการกระทำเช่นนี้ทันที นายการิม ลาฮิดจีกล่าว

คสช. ละเมิดกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองเเละสิทธิทางการเมือง ด้านเสรีภาพในการเดินทาง (ข้อ 12) เสรีภาพมนการเเสดงออก (ข้อ 19) เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ (ข้อ 21) เเละการห้ามมิให้จับกุมคุมขังโดยพลการ (ข้อ 9)

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองเเละสิทธิทางการเมือง ข้อ4 กำหนดว่ารัฐภาคีอาจเลี่ยงพันธกรณีภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองเเละสิทธิพลเมืองนี้ "ในภาวะฉุกเฉินสาธารณะซึ่งคุกคามความอยู่รอดของชาติ” ก่อนที่คสช. เข้าควบคุมอำนาจการปกครอง การชุมนุมจำกัดอยู่เฉพาะเมืองหลวงของประเทศไทย การประกาศรัฐประหารเกิดขึ้นหลังจากคณะรัฐมนตรีที่เหลืออยู่ปฏิเสธไม่ลาออก ดังนั้น การรัฐประหารโดยใช้กำลังทหารจึงเป็นการล้มล้างรัฐบาลโดยชอบธรรมเเละไม่เข้าข่ายเป็น “ภาวะฉุกเฉินสาธารณะซึ่งคุกคามความอยู่รอดของชาติ”

นอกจากนี้ การที่คสช. ใช้บทบัญญัติภายใต้กฎอัยการศึกกักขังบุคคลในลักษณะที่ไม่สามารถติดต่อกับภายนอกได้ ย่อมมีโอกาสสูงที่จะนำไปสู่การทรมานและการประติบัติที่โหดร้าย ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเคร่งครัดตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองเเละสิทธิทางการเมือง เเละอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม คณะกรรมการต่อต้านการทรมานของสหประชาชาติกล่าวว่า คณะกรรมการมีความ "ความกังวลอย่างลึกซึ้ง" ต่อการประกาศกฎอัยการศึกในประเทศไทย เเละเรียกร้องให้ประเทศไทยดำเนินการให้แน่ใจว่าการบังคับใช้ใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศต้อง "ไม่เป็นการละเมิดสิทธิที่อนุสัญญารับรองไม่ว่าจะอยู่ภายใต้สถานการณ์ใดใด”

กวาดจับ : มีผู้ถูกกักขังโดยไม่สามารถติดต่อกับภายนอกได้กว่า 370 คน

ตั้งแต่การยึดอำนาจเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม คสช. ควบคุมตัวบุคคลโดยพลการกว่า 300 คน พวกเขาถูกกักตัวโดยไม่สามารถติดต่อกับภายนอกได้หลังจากถูกเรียกให้รายงานตัว ณ สถานที่ของทหารต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ ผู้ที่ถูกควบคุมตัวส่วนใหญ่เป็นอดีตรัฐมนตรีในคณะรัฐบาล เจ้าหน้าที่ เเละผู้นำผ่ายสนับสนุนรัฐบาลจากแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) รวมทั้งแกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ซึ่งเป็นผู้ถูกควบคุมตัวส่วนน้อย

เจ้าหน้าที่ทหารยังจับกุมบุคคลโดยพลการอย่างน้อย 70 คน ที่กรุงเทพฯ ขอนแก่น เชียงใหม่ เชียงราย เเละอุบลราชธานี ส่วนมาผู้ถูกจับกุมเข้าร่วมการชุมนุมโดยสงบเพื่อต่อต้านการปฏิวัติ หรือมีส่วนเชื่อมโยงกับ นปช.

รัฐบาลทหารยังมุ่งกวาดล้างนักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักวิชาการ นักเขียน สื่อมวลชน เเละกลุ่มรณรงค์ต่อต้านกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ผู้ที่ถูกควบคุมตัวได้เเก่ นางสุกันยา พฤกษาเกษมสุข ภรรยานายสมยศ พฤกษาเกษมสุข อดีตบรรณาธิการนิตยสาร ที่กำลังถูกจำคุกด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทหารจับกุมนางสุกัญญา พร้อมบุตรสาววัย 19 ปีเเละบุตรชายวัย 23 ปี ที่บ้านพักในกรุงเทพฯ เเละควบคุมตัวที่สถานที่ทหาร ที่ เทเวศน์ เพื่อซักถาม ทั้งสามคนได้รับการปล่อยตัว 6 ชั่วโมงหลังถูกควบคุมตัว โดยไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาใดใด

ผู้ถูกควบคุมตัวรายอื่นๆ ถูกควบคุมตัวหลายวัน โดยไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาว่ากระทำความผิดใดๆ การกระทำเช่นนี้ขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองเเละสิทธิพลเมืองข้อ 9โดยตรง เนื่องจาก “บุคคลจะถูกจับกุมหรือควบคุมโดยอำเภอใจมิได้ […] ในขณะจับกุม บุคคลใดที่ถูกจับกุมจะต้องได้รับแจ้งถึงเหตุผลในการจับกุม และจะต้องได้รับแจ้งถึงข้อหาที่ถูกจับกุมโดยพลัน”

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาหัวหน้า คสช. ได้ยืนยันว่ามีสภาพการคุมขังโดยพลการ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พลเอกประยุทธ์ อ้างเหตุผลว่า การควบคุมตัวบุคคลหลายสิบคนที่ค่ายทหารเพราะต้องการให้ "ผู้ถูกควบคุมตัวทราบว่าทหารอยู่กันอย่างไร”

ผู้ถูกควบคุมตัวได้ถูกคุมขังในสถานที่ควบคุมตัวที่ไม่เปิดเผย ซึ่งรวมถึงการควบคุมตัวในฐานทัพ ทั้งยังถูกปฏิเสธสิทธิในการเข้าถึงทนายความและการสื่อสารกับสมาชิกครอบครัว เงื่อนไขการกักกันเหล่านี้มีเเนวโน้มว่าจะทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ อีก รวมถึงการปฏิบัติที่โหดร้าย การทรมาน การบังคับให้สูญหาย และวิสามัญฆาตกรรม

นอกจากนี้รัฐบาลทหารกำหนดเงื่อนไขที่เข้มงวดสำหรับผู้ที่ได้รับการปล่อยตัว เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม คสช. กล่าวว่า ผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวจะต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสองปีและ/หรือโทษปรับ 40,000 บาท (ประมาณ 900 ยูโร) หากไม่สามารถทำตามเงื่อนไขการปล่อยตัว ตามเงื่อนไขผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวจะต้อง 1) ไม่เดินทางออกนอกประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตจากคสช. ก่อน และ 2) งดเว้นจากการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองใดใด เงื่อนไขเหล่านี้ละเมิดกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองเเละสิทธิพลเมือง ข้อ 12 ประกันสิทธิที่บุคคลจะเดินทางออกนอกประเทศของตน

เสรีภาพในการเเสดงออก : ปิดสถานีวิทยุ โทรทัศน์ ควบคุมตัวสื่อมวลชน เเละสั่งเซ็นเซอร์เนื้อหา

คสช. กำหนดมาตรการจำนวนมากที่ฝ่าฝืนกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองเเละสิทธิทางการเมือง ข้อ 19 อย่างชัดเจน ซึ่งกติการะหว่างประเทศฯ คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก รวมถึง "เสรีภาพที่จะแสวงหา รับ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท "

ทันทีหลังจากที่การยึดอำนาจรัฐบาลทหารสั่งปิดสถานีโทรทัศน์ไทย 14 ช่อง และสถานีวิทยุชุมชนอีกประมาณ 3,000 สถานี ทั้งยังปิดกั้นการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังปิดช่องทีวีทั้งหมดนานกว่า 24 ชั่วโมง เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมหลังจาก 18:00 น. สถานีโทรทัศน์เฉพาะฟรีทีวีทุกแห่งกลับมาเเพร่ภาพได้ อย่างไรก็ตามหลังสถานีโทรทัศน์ทุกช่องเริ่มต้นอีกออกอากาศอีกครั้งก็ได้งดเว้นการรายงานข่าวที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหาร และถือว่าล้มเหลวที่จะรายงานข่าวประท้วงต่อต้านรัฐประหาร ณ วันที่ 30 พฤษภาคม ข่าวต่างประเทศหลายช่อง ( อาทิ CNN, BCC, CNBC, Bloomberg, CCTV, NHK และ TV5) ยังคงถูกปิดกั้น

รัฐบาลทหารสั่งสื่อทุกสื่อไม่ให้สัมภาษณ์อดีตเจ้าหน้าที่ รัฐบาล นักวิชาการ ผู้พิพากษา หรือ สมาชิกองค์กรอิสระ " ในทางที่อาจสร้าง ความขัดแย้งหรือความสับสนในหมู่ประชาชน."

คสช. ดำเนินการปิดปากนักข่าวที่เเสดงความไม่เห็นด้วยอย่างรวดเร็ว เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ทหารควบคุมตัว นายธนาพล อิ๋วสกุลบรรณาธิการร่วมนิตยสาร ฟ้าเดียวกัน ในระหว่างการประท้วงต่อต้านการรัฐประหารโดยสงบใจกลางกรุงเทพฯ วันก่อนหน้านั้น รัฐบาลทหารได้สั่งนายธนาพลไปรายงานตัวที่ฐานทัพทหาร กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ทหารมเรียก นายประวิตร โรจน์พฤกษ์นักข่าว อาวุโส หนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น ที่วิพากษ์วิจารณ์การเมืองอย่างเปิดเผย วันรุ่งขึ้นนายประวิตรไปรายงานตัวที่เขตทหารในกรุงเทพฯ เเละต่อมาก็ถูกควบคุมตัวไว้ในสถานที่ที่ไม่เปิดเผย ในช่วงที่ออกเเถลงการณ์นี้นักสื่อสารมวลชนทั้งสองยังคงอยู่ในความควบคุมของทหาร เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ทหารเรียกนายศุภฤกษ์ ธงไชยฤทธิ์ เเละ นางสาววาสนา นาน่วม สองผู้สื่อข่าวจากหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ และ หนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ เข้าพบ เนื่องจากทั้งคู่ตั้งถามที่ "ไม่เหมาะสม" ต่อ พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ในการเเถลงข่าววันก่อนหน้านี้

รัฐบาลทหารยังดำเนินการลดการวิพากษ์วิจารณ์ออนไลน์ด้วย ในวันที่ 22 พฤษภาคม คสช. เตือน "ผู้ประกอบการสื่อสังคมออนไลน์" ว่าหากไม่สามารถปิดกั้น "ข้อมูลผิดกฎหมาย” เเละข้อความต่อต้านรัฐบาลทหาร จะต้องถูกปิดและถูกดำเนินการทางกฎหมาย เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมรัฐบาลทหารเรียกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต76 ราย เข้ารายงานตัวและสั่งให้ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบและการกำจัดข้อความที่จะปลุกระดมให้ต่อต้านของกฎหมาย เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม เจ้าหน้าที่กระทรวงการสื่อสารเเละเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) กล่าวว่า กระทรวงได้ปิดกั้นเว็บไซต์ 219 เว็บ ที่ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อ "ความมั่นคงของชาติ." เเละว่ากระทรวงไอซีทียังมีแผนในการตรวจสอบการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเเละอย่างเคร่งครัด โดยผ่านอินเทอร์เน็ตเกตเวย์แห่งชาติเเห่งเดียว ที่บริหารงานโดยบริษัทโทรคมนาคมที่รัฐเป็นเจ้าของสองบริษัท เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม กระทรวงไอซีทียังบล็อกเฟซบุ๊คชั่วคราว ด้วย

เสรีภาพในการชุมนุม : ห้ามการชุมนุมในที่สาธารณะเเละข่มขู่ผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐประหาร

คสช. คำสั่งฉบับที่ 7 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม ห้ามการชุมนุมสาธารณะตั้งเเต่ห้าคนขึ้นไป ผู้ฝ่าฝืนอาจโทษจำคุกหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท (ประมาณ 450 ยูโร) หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 21 เเห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองเเละสิทธิทางการเมือง ซึ่งรับรองสิทธิการชุมนุมโดยสงบ ยังมีการประท้วงต่อต้านรัฐประหารขนาดเล็กที่เกิดขึ้นในกรุงเทพ เชียงใหม่และเชียงราย เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม หัวหน้า คสช. พลเอกประยุทธ จันโอชา ขู่ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหารว่าจะบังคับใช้กฎอัยการศึกอย่างเข้มงวดและผู้ประท้วงจะถูกดำเนินคดีในศาลทหาร

นายการิม ลาฮิดจี ประธานสหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากลกล่าวว่า รัฐบาลทหารใช้วิธีการกวาดล้างขนาดใหญ่ในนามของการฟื้นฟูสันติภาพเเละความสงบเรียบร้อย ซึ่งเสี่ยงต่อการทำให้สังคมไทยเเตกเเยกมาขึ้น การเคารพมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เเละการตระหนักถึงหลักประชาธิปไตยเป็นเพียงวิถีทางเดียวที่จะแก้ปัญหาวิกฤตการเมืองครั้งนี้ได้อย่างยั่งยืน

สหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากลขอให้ประชาคมนานาชาติเรียกร้องให้คสช. ดำเนินการดังนี้

  • เปิดเผยสถานที่ควบคุมตัวของผู้ที่ถูกควบคุมตัวตั้งเเต่วันที่ 22 พฤษภาคม
  • ปล่อยตัวผู้ที่ยังถูกควบคุมตัวอยู่โดยทันทีเเละโดยปราศจากเงื่อนไข
  • ยุติการจับกุมคุมขังบุคคลโดยพลการตามกฎอัยการศึก
  • ยกเลิกการเซ็นเซอร์สื่อเเละข้อจำกัดต่อเสรีภาพในการเเสดงออก เสรีภาพในการเดินทาง เเละเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ
  • ตรวจสอบให้การกระทำทุกอย่างเป็นไปตามพันธกรณีกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
  • ยกเลิกการประกาศกฎอัยการศึก
  • นำรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 กลับมาใช้
  • กำหนดกรอบเวลาการเลือกตั้งที่ยุติธรรมเเละเป็นอิสระอย่างชัดเจน

ข้อมูลสำหรับสื่อมวลชน ติดต่อ :

Ms. Audrey Couprie (ภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ เเละสเปน) - Tel : +33 6 48 05 91 57 (ปารีส)

Lire la suite