กัมพูชา : กลไกสหประชาชาติเรียกร้องการสืบสวนการหายตัวของเยาวชนชาวกัมพูชาและนักเคลื่อนไหวชาวไทย

14/03/2024
Déclaration
en th
© FIDH

สหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (FIDH) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF) และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR) เรียกร้องต่อทางการกัมพูชาให้ดำเนินการทันทีต่อข้อเสนอแนะของกลไกสหประชาชาติในการตอบสนองและคลี่คลายคดีการบังคับบุคคลให้สูญหายในประเทศ

กรุงเทพฯ ปารีส 14 มีนาคม 2567 : คณะกรรมการของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance (CED) จัดทำข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาลกัมพูชาเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 สืบเนื่องจากการทบทวนสถานการณ์ของกัมพูชาภายใต้มาตรา 29 ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการสูญหายโดยถูกบังคับ (ICPPED) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 – 20 กุมภาพันธ์ 2567 ณ เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดย CED ได้ติดตามการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้อนุสัญญา ICPPED ของรัฐภาคี โดยกัมพูชาเป็นภาคีของอนุสัญญาดังกล่าว

ในการสรุปผลต่อการสังเกตการณ์ CED ในแสดงความกังวลหลายประเด็นต่อการที่กัมพูชาไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีของ ICPPED ทั้งทางตัวบทกฎหมายและในทางปฏิบัติ โดย CED แสดงความกังวลเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายที่ไม่เพียงพอและไม่มีประสิทธิภาพของกัมพูชาในการสร้างความเชื่อมั่นว่าคดีเกี่ยวกับการบังคับบุคคลให้สูญหายนั้นได้รับการสืบสวนอย่างเหมาะสม และรับประกันสิทธิของญาติผู้สูญหายในการเข้าร่วมกระบวนการสืบสวน อย่างที่เกิดกับกรณีนายเขม โสภา เยาวชนชาวกัมพูชา และนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ นักเคลื่อนไหวชาวไทย

CED เสนอแนะว่าผู้สูญหายทุกคนควร“ถูกตามหาโดยไม่ชักช้า” และคดีการถูกบังคับให้สูญหาย รวมถึงกรณีนายเขม โสภา และนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ นั้นได้รับการสืบสวน “ทันที อย่างละเอียด มีประสิทธิภาพและปราศจากอคติ” CED ยังได้เสนอให้ทางการกัมพูชารับประกันว่าญาติและผู้แทนของผู้สูญหาย รวมทั้งครอบครัวของ เขม โสภาเและวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ “สามารถเข้าร่วมการค้นหาและการสืบสวน ตลอดขั้นตอนของกระบวนการ” และพวกเขา “ได้รับการแจ้งข้อมูลอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับความคืบหน้าและผลของการสืบสวนที่ดำเนินการอยู่”

ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 โฆษกรัฐบาลกล่าวกับสื่อมวลชนว่าเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการสืบสวนต่อกรณีวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้หายตัวเมื่อเดือนมิถุนายน 2563 เป็นที่แล้วเสร็จ และได้ “ส่งรายงาน” ไปที่ศาลแขวงกรุงพนมเปญ ไม่มีรายละเอียดของรายงานเผยแพร่และศาลล้มเหลวในการแจ้งให้ทนายความของนายวันเฉลิม และสมาชิกครอบครัวของเขาทราบเกี่ยวกับความคืบหน้าดังกล่าว

CED ยังกล่าวถึงประเด็นการบังคับบุคคลให้สูญหายในบริบทของการกดปราบข้ามชาติ (transnational repression) ต่อนักเคลื่อนไหว เช่นกรณีของนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ โดย CED ได้แสวงความกังวลต่อรายงานเกี่ยวกับการขาดความร่วมมือกับประเทศที่เป็นสัญชาติของผู้สูญหายในการให้ความช่วยเหลือเหยื่อในการค้นหา ระบุที่อยู่ และปล่อยตัวผู้สูญหาย และจากข้อกล่าวหาของ “เจ้าหน้าที่ในภูมิภาคในการล้มเหลวในการสืบสวนอย่างเพียงพอต่อกรณีการหายตัวข้ามพรมแดน” CED เสนอแนะให้ทางการกัมพูชา “กระตืนรือร้นในการสร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือระหว่างหน่วยงานศาลของประเทศในภูมิภาค” ในการอำนวยความสะดวกด้านการแบ่งปันข้อมูลและหลักฐาน การค้นหา และการยืนยันตัวตนบุคคลสูญหาย การดำเนินการสืบสวน และการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด

CED เรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชาส่งข้อมูลที่ “เฉพาะเจาะจงและล่าสุด” เกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว และข้อมูลใหม่อื่นๆ เกี่ยวกับการดำเนินการตามพันธกรณีภายใต้ ICCPED ภายในวันที่ 1 มีนาคม 2570

ข้อค้นพบ และข้อเสนอแนะของ CED สะท้อนข้อเสนอหลายประเด็นที่เสนอโดย FIDH, CrCF, และ TLHR ในรายงานที่ส่งต่อ CED ก่อนหน้าที่จะมีการทบทวนสถานการณ์ของประเทศกัมพูชา

Lire la suite